หน่วยที่8 การสร้างและตกแต่งข้อความ

บทนำ
ในการสร้างเอกสารนอกจากจะมีการกำหนดรูปแบบของเอกสาร การวางแนวกระดาษ ขนาดกระดาษ และการกำหนดค่าหน้ากระดาษต่างๆแล้ว ต่อมาจะเป็นขั้นตอนการสร้างข้อความและกำหนดรูปแบบเกี่ยวกับตัวอักษร ข้อความ ได้แก่ การกำหนดลักษณะตัวอักษร ขนาดตัวอักษร ระยะห่างระหว่างตัวอักษร บรรทัด และอีกหลายคำสั่งเพื่อช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถเลือกใช้ได้เหมาะสมกับงานพิมพ์ของตน
8.1 การสร้างข้อความ
การสร้างข้อความโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 สามารถสร้างข้อความแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
8.1.1 ข้อความแบบเท็กซ์บล็อก (Text Block)
ข้อความแบบเท็กซ์บล็อกเป็นประเภทข้อความที่สร้างจากเครื่องมือไทป์ทูล (Type Tool) จากกล่องเครื่องมือสำหรับพิมพ์บนพื้นที่การทำงานบนอาร์ตบอร์ด (Art Boart) และเครื่องมือไทป์ออนอะพาธทูล (Type on a Path Tool) สำหรับสร้างข้อความบนเส้นพาธ (Path)


1.การสร้างข้อความแบบเท็กซ์บล็อกจากเครื่องมือไทป์ทูล
 (1) คลิกเลือกเครื่องมือไทป์ทูล จากกล่องเครื่องมือ
(2) นำเมาส์คลิกบนพื้นที่การทำงาน (Art Boart) ลากเมาส์ให้ได้ความกว้างของพื้นที่ตามต้องการ
(3) กรอบขอบเขตการพิมพ์จะปรากฏเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนาดตามที่ผู้ใช้ลากเมาส์ไว้
(4) พิมพ์ข้อความในกรอบพื้นที่ที่สร้างจากเครื่องมือไทป์ทูล
2.การสร้างข้อความแบบเท็กซ์บล็อกจากเครื่องมือไทป์ออนอะพาธทูล
การสร้างข้อความจากเครื่องมือไทป์ออนอะพาธทูล ผู้ใช้จะต้องสร้างเส้นพาธก่อนเพื่อให้ข้อความที่สร้างเรียงไปตามลักษณะของเส้นพาธ มีวิธีการสร้างดังต่อไปนี้
     (1)    กลิกเครื่องมือเพนซิลทูล (Pencil Tool) เพื่อสร้างเส้นพาธ
     (2)    คลิกลากเส้นบนอาร์ตบอร์ดให้ได้เส้นตามต้องการ
     (3)    คลิกเมาส์ที่เครื่องมือไทป์ออนอะพาธทูล ในกล่องเครื่องมือ
     (4)    คลิดเมาส์บริเวณจุดที่ต้องการพิมพ์บนเส้นพาธ ปรากฏเคอร์เซอร์ (Cursor) สำหรับพิมพ์ข้อความบนเส้นพาธ
     (5)    พิมพ์ข้อความตามต้องการบนเส้นพาธ
     (6)    คลิกเครื่องมือพรีวิว (Preview) เพื่อดูผลงานที่เสร็จสมบูรณ์
8.1.2 ข้อความแบบเท็กซ์เฟรม (Text Frame)
ข้อความแบบเท็กซ์เฟรมเป็นการสร้างข้อความให้อยู่ภายในเฟรม ในการสร้างข้อความประเภทนี้จะสร้างเฟรมก่อน การสร้างข้อความสามารถสร้างได้จากเรื่องมือไทป์ทูลและไทป์ออนอะพาธทูล เช่นเดียวกับเท็กซ์บล็อก
1.รูปแบบเฟรมใหม่ ในการสร้างข้อความแบบเท็กซ์เฟรม ผู้ใช้ต้องสร้างเฟรมขึ้นก่อนพิมพ์จะพิมพ์ข้อความ รูปแบบของเฟรม ดังนี้
- เรคแทงเกิลเฟรมทูล (Rectangle Frame Tool) เฟรมรูปสี่เหลี่ยม
- อิลลิปส์เฟรมทูล (Ellipse Frame Tool) เฟรมรูปวงกลมหรือวงรี
- โพลีกอนเฟรมทูล (PolyGon Frame Tool) เฟรมรูปหลายเหลี่ยม
2.ขั้นตอนการสร้างข้อความจากเท็กซ์เฟรม ทำได้ดังนี้
(1) เมื่อต้องการสร้างเฟรมในรูปวงรี สามารถทำได้ด้วยการคลิกที่ไอคอนอิลลิปส์เฟรมทูล
(2) นำเมาส์บนพื้นที่การทำงานอาร์ตบอร์ด ลากเมาส์ให้ได้ความกว้างของพื้นที่ตามต้องการ จะได้พื้นที่เฟรมสำหรับพิมพ์ข้อความ
(3) คลิกเครื่องมือไทป์ทูล แล้วคลิกเมาส์ในบริเวณพื้นที่เฟรมจะมีเคอร์เซอร์เกิดขึ้น ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความลงในเฟรมได้ตามต้องการ
8.2 การนำไฟล์จากโปรแกรมอื่นมาใช้งานในโปรแกรมอะโดบีอินไซน์ซีเอส 5.5
ในการทำงานของโปรแกรมอะโดบีอินไซน์ซีเอส 5.5 นอกจากผู้ใช้จะสร้างเอกสารหรือชิ้นงานต่างๆแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถนำไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรมอื่นๆ เข้ามาใช้ในโปรแกรมอะโดบีอินไซน์ซีเอส 5.5 ได้ดังนี้
1.คลิกเลือกที่เมนูไฟล์ > เพลส (File > Place)
2.จะปรากฏหน้าต่างเพลส เพื่อเปิดไฟล์งานที่ต้องการประกอบด้วย
(1) ตำแหน่งที่เก็บไฟล์ (Look in)
(2) จะปรากฏชื่อไฟล์งาน ผู้ใช้สามารถเลือกไฟล์ที่ต้องการ
(3) คลิกเปิดไฟล์ (Open)
3.บนพื้นที่การทำงานอาร์ตบอร์ด จะปรากฏตัวชี้เมาส์เป็นสัญลักษณ์หัวลูกศรพร้อมข้อความ
(4) เมื่อคลิกเพื่อนำไฟล์ที่นำเข้ามา เนื้อหาในไฟล์จะถูกนำมาแสดงทั้งหมดบนพื้นที่อาร์ตบอร์ด ปรากฏผลลัพธ์ดังภาพ
8.3 การไหลของข้อความ
การไหลของข้อความ คือ เมื่อมีการนำไฟล์งานหรือข้อความจากโปรแกรมอื่นเข้ามาวางในโปรแกรมอะโดบีอินไซน์ซีเอส 5.5 แล้วจะปรากฏว่าไฟล์งานหรือข้อความนั้นมีความยาวมากกว่าหน้ากระดาษ ทำให้ไม่สามารถแสดงข้อความทั้งหมดในหน้าเดียวได้ มีข้อความบางส่วนที่ถูกซ่อนไว้ โดยสังเกตได้จากเครื่องหมาย บนกรอบข้อความ
การจัดการไหลของข้อความให้แสดงข้อความทั้งหมด มีขั้นตอนดังนี้
1.คลิกเมาส์ที่เครื่องมือซีแลคชั่นทูล
2.คลิกที่เครื่อง บริเวณมุมล่างขวา
3.นำเมาส์ไปยังตำแหน่งหน้ากระดาษใหม่ที่ต้องการวางข้อความ
4.คลิกเมาส์เพื่อวางข้อความ
8.4 เครื่องมือปรับแต่งตัวอักษรและข้อความ
ในการปรับแต่งตัวอักษรและข้อความ เช่น การกำหนดรูปแบบตัวอักษร ลักษณะตัวอักษร ขนาดของตัวอักษร ระยะห่างระหว่างบรรทัด ตัวอักษรตัวบน ตัวห้อย เป็นต้น ด้วยการใช้เครื่องมือที่โปรแกรมอะโดบีอินไซน์ซีเอส 5.5 มีใว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น
8.1.4 พาเนลแรคเตอร์ (Panel Character)
1.ส่วนประกอบของพาเนลแรคเตอร์


หมายเลข 1 รูปแบบตัวอักษร (Font)
หมายเลข 2 ลักษณะตัวอักษร (Type Style)
หมายเลข 3 ขนาดตัวอักษร (Font Size)
หมายเลข 4 ช่องไฟตัวอักษร (Kerning)
หมายเลข 5 ความสูงของตัวอักษร (Vertical Scale)
หมายเลข 6 การยกตัวอักษร (Baseline Shift)
หมายเลข 7 ระยะห่างของบรรทัด (Leading)
หมายเลข 8 เพิ่ม/ลดระยะห่าง (Tracking)
หมายเลข 9 ความกว้างของตัวอักษร (Horizontal Scale)
หมายเลข 10 ปรับองศาการเอียงตัวอักษร (Skew)
หมายเลข 11 ภาษา (Language)
2.การกำหนดรูปแบบตัวอักษรจากพาเนลคาแรคเตอร์ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบตัวอักษร ได้ดังนี้
(1) ผู้ใช้ต้องเปลี่ยนการทำงานให้อยู่ในรูปแบบการทำงานกับตัวอักษรด้วยการคลิกเมาส์ที่เครื่องมือไทป์ทูลในกล่องเครื่องมือ ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนไปเป็นรูป
(2) เมื่อคลิกเมาส์จะปรากฏเคอร์เซอร์ (Cursor) พร้อมพิมพ์ข้อความ
(3) คลิกเมาส์แล้วลากทับไปบนข้อความ เพื่อทำไฮไลท์ข้อความที่ต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตัวอักษร
(4) คลิกเลือกรูปแบบตัวอักษร ในพาเนลคาเรคเตอร์
(5) เลือกรูปแบบตัวอักษรตามต้องการ
(6) ข้อความที่ทำไฮไลท์จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบอักษรที่ต้องการ
8.4.2 คอนโทรลพาเนล (Control Panel)
การปรับแต่งตัวอักษรหรือข้อความ นอกจากที่ผู้ใช้จะสามารถใช้เครื่องมือพาเนลคาแรคเตอร์แล้ว ในโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 ยังมีเครื่องที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อีกเครื่องหนึ่งคือคอนโทรลพาเนล ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ในการปรับแต่งตัวอักษรหรือข้อความได้
ในการใช้งานคอนโทรลพาเนล ผู้ใช้ต้องอยู่ในรูปแบบการทำงานกับตัวอักษรหรือข้อความโดยการคลิกเลือกเครื่องมือไทป์ทูล หรือไทป์ทูลออนอะพาธทูล ตัวชี้เมาส์จะแสดงเป็นรูปคอนโทรลพาเลนจะแสดงการกำหนดค่าตัวอักษรดังนี้
1.รายละเอียดการกำหนดค่าในคอนโทรลพาเนล มีดังนี้


หมายเลข 1 ควบคุมรูปแบบตัวอักษร (Character Formatting Controls)
หมายเลข 2 ควบคุมรูปแบบการจัดตำแหน่งข้อความ (Paragraph Formatting Controls)
หมายเลข 3 รูปแบบตัวอักษร (Font)
หมายเลข 4 ขนาดตัวอักษร (Font Size)
หมายเลข 5 เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ (All Cap)
หมายเลข 6 อักษรตัวยก (Superscript)
หมายเลข 7 ขีดเส้นใต้ตัวอักษร (Underling)
หมายเลข 8 ปรับช่องไฟตัวอักษร (Kerning)
หมายเลข 9 การเพิ่ม/ลดความสูงตัวอักษร (Vertical Scale)
หมายเลข 10 การเพิ่ม/ลดความกว้างตัวอักษร (Horizontal Scale)
หมายเลข 11 ลักษณะตัวอักษร (Type style)
หมายเลข 12 ระยะห่างบรรทัด (Leading)
หมายเลข 13 เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ขนาดเล็ก (Small Caps)
หมายเลข 14 อักษรตัวห้อย (Subscript)
หมายเลข 15 ขีดเส้นทับบนตัวอักษร (Strikethrough)
หมายเลข 16 กำหนดช่องไฟของข้อความ (Tracking)
หมายเลข 17 อักษรตัวยก/ตัวห้อย (Baseline)
หมายเลข 18 ทำตัวอักษรเอียง (Skew)
รายละเอียดในการกำหนดค่าในคอนโทรลพาเนล จะมีคำสั่งที่เหมือนกับในพาเลนคาแรคเตอร์อยู่หลายคำสั่ง มรบางคำสั่งที่มนพาเนลคาแรคเตอร์ไม่มี ได้แก่ เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ (All Caps) เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ขนาดเล็ก (Small Caps) และขีดเส้นทับบนตัวอักษร (Strikethrough)
2.เปลี่ยนตัวอักษรเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถเปลี่ยนตัวอักษรภาษาอังกฤษให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ได้ดังนี้
(1) ผู้ใช้ต้องเปลี่ยนการทำงานให้อยู่ในรูปแบบการมำงานกับตัวอักษร ด้วยการคลิกเมาส์ที่เครื่องมือไทป์ทูล จากนั้นคลิกเมาส์ทำไฮไลท์ในตำแหน่งข้อความที่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่
(2) คลิกเลือกการเปลี่ยนตัวอักษรภาษาอังกฤษให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
(3) ข้อความที่เลือกไว้จะปรับเป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
3.เมนูคำสั่งไทป์ (Type)
การกำหนดรูปแบบตัวอักษรจากเมนูไทป์ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถกำหนดรูปแบบของตัวอักษร ได้ดังนี้
     (1)    ผู้ใช้จะต้องเปลี่ยนการทำงานให้อยู่ในรูปแบบการทำงานกับตัวอักษร ด้วยการคลิกเมาส์ที่เครื่องมือไทป์ทูล จากนั้นคลิกเมาส์ทำไฮไลท์ในตำแหน่งข้อความที่ต้องการจะกำหนดรูปแบบตัวอักษร
     (2)    คลิกเลือกคำสั่งไทป์ > ฟอนต์ (Type > Font)
     (3)    เลือกรูปแบบตัวอักษรที่ต้องการ
     (4)    ข้อความที่เลือกจะมีรูปแบบตัวอักษรตามที่กำหนดค่าไว้
8.5 การจัดตำแหน่งข้อความ
การทำงานเกี่ยวกับการสร้างข้อความ นอกจากจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ ขนาด หรือลักษณะอื่นๆแล้ว โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 ยังจะช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถจัดตำแหน่งของข้อความให้จัดเรียงตามแนวที่ผู้ใช้ต้องการได้ เช่น การจัดตำแหน่งข้อความชิดซ้าย การจัดตำแหน่งข้อความชิดขวา จัดตำแหน่งความเหยียดเต็มทุกบรรทัด เป็นต้น
เครื่องมือที่จะช่วยผู้ใช้ในการจัดตำแหน่งข้อความ คือ พาเนลพารากราฟ (Paragraph Panel) และคอนโทรลพาเนล (Control Panel) โดยการคลิกที่ไอคอนพารากราฟเพื่อแสดงเครื่องมือในการควบคุมรูปแบบการจัดตำแหน่งข้อความ (Paragraph Formatting Controls)
พาเนลพารากราฟ ประกอบด้วยเครื่องมือที่ช่วยในการจัดตำแหน่งข้อความดังนี้


หมายเลข 1 เครื่องมือในการจัดตำแหน่งข้อความ
-          ตำแหน่งข้อความชิดซ้าย (Align Left)
-          ตำแหน่งข้อความตรงกลาง (Align Center)
-          ตำแหน่งข้อความชิดขวา (Align Right)
-          ข้อความเหยียดเต็มบรรทัด บรรทัดสุดท้ายชิดซ้าย (Justify with last line aligned left)
-          ข้อความเหยียดเต็มบรรทัด บรรทัดสุดท้ายจัดกลาง (Justify with last line aligned Center)
-          ข้อความเหยียดเต็มบรรทัด บรรทัดสุดท้ายชิดขวา (Justify with last line aligned Right)
-          จัดตำแหน่งข้อความเหยียดเต็มทุกบรรทัด (Justify all line)
-          จัดตำแหน่งข้อความชิดฝั่งหยักน้อย (Align towards spine)
-          จัดตำแหน่งข้อความชิดฝั่งหยักมาก (Align away from spine)
หมายเลข 2 จัดย่อหน้าข้อความทั้งคอลัมน์จากด้านซ้าย (Left Indent)
หมายเลข 3 จัดย่อหน้าข้อความทั้งคอลัมน์จากด้านขวา (Right Indent)
หมายเลข 4 จัดย่อหน้าข้อความบรรทัดแรกจากด้านซ้าย (First Line Left Indent)
หมายเลข 5 จัดย่อหน้าข้อความบรรทัดสุดท้ายจากด้านขวา (Last Line Right Indent)
หมายเลข 6 ปรับความกว้างของบรรทัดที่อยู่ก่อนข้อความ (Space Before)
หมายเลข 7 ปรับความกว้างของบรรทัดที่อยู่หลังข้อความ (Space After)
หมายเลข 8 ปรับขนาดตัวอักษรตัวแรกของย่อหน้าตามจำนวนบรรทัด (Drop Cap Number of Line)
หมายเลข 9 ปรับขนาดตัวอักษรตัวแรกให้มีขนาดเท่าตัวแรก (Drop Cap Number of Line)




ไม่มีความคิดเห็น: