หน่วยที่6 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

บทนำ
สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ที่ใช้กันทุกวันนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน จนบางครั้งผู้ใช้อาจจะไม่สังเกตว่าสิ่งนั้นเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยเช่นกัน งานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ผลิตขึ้นมาหลากหลายประเภทเพื่อสนองตอบกับความต้องการของผู้ใช้ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยาสาร วารสาร โบร์ชัวร์ แผ่นพับและหนังสือประเภทต่างๆ โดยที่มาของสื่อสิ่งพิมพ์เหล่านี้อาจจะมาจากโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์เครื่องมือครบครัน หรือมาจากการผลิตด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพริ้นเตอร์แบบธรรมดา เรียกว่าเป็นการพิมพ์แบบเดสก์ท๊อปพับลิชชิงที่มีใช้กันโดยทั่วไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการคุณภาพ ขนาด และปริมาณของการใช้
ในงานพิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะผลิตจากโรงพิมพ์ หรือการผลิตแบบเดรก์ท๊อปลิชชิง ต่างต้องใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น โปรแกรมอะโดบีเพจเมกเกอร์ โปรแกรมอะโดบีดิไซน์ โปรแกรมอะโดบีโปรโตช็อป และโปนแกรมอะโดบีอิลัสเตรเตอร์ เป็นต้น
6.1ลักษณะโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส  5.5
โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์เป็นโปรแกรมเพื่อจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์แบบมืออาชีพสำหรับงานสื่อสิ่งพิมพ์ในระบบดิจิตอล ใช้ออกแบบโครงหน้าหรือเลเอาต์ของงานพิมพ์ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นงานพิมพ์หนังสือ วารสารนิตยาสาร หรือแม้กระทั้งสื่อสิ่งพิมพ์แบบอินเตอร์เอฟทีฟ ช่วยให้สามารถออกสื่อนำเสนอในรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์สามารถจัดการในเรื่องการออกแบบเลเอาต์ที่ยืดหยุ่นกับการจัดหน้าเพื่อส่งต่อไปยังสื่อต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ช่วยประหยัดเวลา เมื่อสร้างงานพิมพ์หรือเอกสารดิจิตอลด้วยการสามารถส่งแบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ได้ หากต้องการเปลี่ยนตำแหน่งในการวางรูปในเฟรมก็สามารถทำได้ง่าย โดยไม่ต้องเลื่อนเมาส์ออกจากเลเอาต์เครื่องมือใหม่ของอะโดบีอินดีไซน์จะเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานแบบอินเตอร์ แอคทีฟได้ในสามารถอ่านได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
6.2 การเข้าสู่โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5
การเข้าสู่โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
6.2.1วิธีที่ 1
1.ดับเบิลคลิกที่สัญญาลักษณ์   (ชอร์ตคัตของโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส5.5)บนหน้าเดสก์ท็อป (Desktop)


ดับเบิลคลิกชอร์ตคัตของโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส5.5

2.เข้าสู่โหมดโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส5.5 จะปรากฏหน้าจอแรกของโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส5.5หน้าต่างเทรมเพลต (Templat)

สัญญาลักษณ์ที่แสดงเมื่อเข้าสู่โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส5.5

เมื่อเข้าสู่โปรแกรมอะโดบี อินดีไซน์ 5.5จะปรากฏหน้าต่างเทรมเพลต
6.2.2 วิธีที่ 2
1. คลิกปุ่ม  ปุ่มสตาร์ต > โปรแกรม > อะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 (Program > Adobe Indesige Cs 5.5)


2. จะเข้าสู่โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5

เข้าสู่โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 จะปรากฏหน้าต่างเทรมเพลต

หน้าต่างเทรมเพลตมีไว้สำหรับช่วยในการสร้างไฟล์งานได้สะดวกมากขึ้นซึ่งจะให้แสดงหรือไม่แสดงหน้าต่างก็ได้ การใช้งานหน้าต่างเทรมเพลตเพื่อจะเข้าสู่การเริ่มต้นการสร้างชิ้นงาน มีดังนี้
     เป็นไฟล์งานเดิมที่มีอยู่แล้ว (Open)
     สร้างไฟล์งานใหม่ (Document)
     สร้างไฟล์งานแบบบุ๊ก (Book) เหมาะสำหรับเอกสารที่มีหลายๆหน้า
     สร้างไฟล์แนบไลบรารี (Library)
 แสดงหรือไม่แสดงหน้าต่างเรมเพลตในครั้งต่อไปเมื่อไม่ต้องการให้แสดงหน้าต่างเทรมเพลต ให้คลิกที่กรอบสี่เหลี่ยมหน้าข้อความ Don’t show again จะปรากฏเครื่องหมาย R เมื่อเข้าสู่โหมดครั้งต่อไป จะไม่แสดงหน้าต่างเทรมเลต
6.3 การออกจากโปรแกรมอะโดบีอิดีไซน์ซีเอส 5.5
การออกจากโปรแกรมอะโดบีอิดีไซน์ซีเอส 5.5 ทำได้ดังนี้
6.3.1 วิธีที่ 1
1.คลิกที่ปุ่ม  (Close) บริเวณปุ่มควบคุมการทำงาน (มุมบนด้านขวามือ)
2.จะปิดชิ้นงานและปิดโปรแกรม
6.3.2
1. คลิกคำสั่งแฟ้ม (File) ออกจากโปรแกรม (Exit)






6.4 ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5
เมื่อเข้าสู่การทำงานของโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 จะปรากฏหน้าจอของโปรแกรม ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆทั้งที่เป็นแถบเครื่องมือ แถบคำสั่ง และพื้นที่ในการทำงาน
6.4.1 ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5


ส่วนประกอบบนหน้าจอสามารถแบ่งได้เป็น 7 ส่วน ได้แก่
1.แถบคำสั่ง (Menu Bar) เป็นคำสั่งหลักและคำสั่งย่อยของโปรแกรม
2.แถบคอนโทรลพาเนล (Control Panel) ใช้สำหรับกำหนดคุณสมบัติของวัตถุและข้อความ
3.ปุ่มควบคุมการทำงาน ปิด ย่อ/ขยาย หน้าต่าง
4.ปุ่มเรียกใช้งานโปรแกรมอะโดบีบริดจ์ (Adobe Bridge)
5.กล่องเครื่องมือ (Toolbox) เก็บเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง ปรับแต่งแก้ไขภาพ และข้อความ
6.อาร์คบอร์ด (Artboard) พื้นที่การทำงาน
7.ด็อคพาเนล (Dock Panel) พาเนลต่างๆที่รวบรวมคุณสมบัติการทำงาน
6.4.2 แถบคำสั่ง (Menu Bar)


แถบคำสั่ง เป็นแถบเมนูที่ใช้เก็บคำสั่งหลักของโปรแกรม ซึ่งสามารถเรียกใช้คำสั่งหลักได้ในคำสั่งบางคำสั่งจะมีสัญลักษณ์แสดงอยู่ด้านขวามือ เมื่อเรียกใช้คำสั่งหลักนั้นจะมีสั่งย่อยเพิ่มขึ้นอีก

ตารางที่ 8.1 คำสั่งในแถบคำสั่ง (Menu Bar)
คำสั่ง
การใช้งาน
ไฟล์ (File)
เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการไฟล์ เช่น การสร้างเอกสารใหม่ (New) การเปิดไฟล์ (Open) การบันทึกไฟล์ (Save) การพิมพ์เอกสาร (Print) และการนำไฟล์จากภายนอกเข้ามาใช้ (Place) เป็นต้น
เอดิต (Edit)
เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการปรับปรุง ปรับแต่ง แก้ไข เช่น การตัด (Cut) การคัดลอก (Copy) การวาง (Paste) เป็นต้น
เลเอาต์ (Layout)
เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการหน้าเอกสาร เช่น การเพิ่มเอกสาร (Add Page) กำหนดเลขหน้า (Numbering & Section options) เป็นต้น
ไทป์ (Type)
คำสั่งเกี่ยวกับตัวอักษร เช่น ชนิดตัวอักษร (Font) ขนาดตัวอักษร (Size) ย่อหน้า (Paragraph) เป็นต้น
ออบเจ็กต์ (Object)
เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการออบเจ็กต์ทั้งหมด เช่น การจัดลำดับ (Arrange) การปรับแต่ง (Transform) เป็นต้น
เทเบิล (Table)
เป็นคำสั่งเกี่ยวกับตาราง เช่น แทรกตาราง (Insert Table) แทรกแถว แทรกแถว แทรกคอลัมน์ (Insert Row , Column) เป็นต้น
วิว (View)
เป็นคำสั่งมุมมองแสดงภาพในรูปแบบต่างๆ เช่น ขยายมุมมองหน้ากระดาษ (Zoom Out) แสดงองค์ประกอบในการพิมพ์ (Entire Pasteboard) เป็นต้น
วินโดว์ (Window)
เป็นคำสั่งในการจัดการหน้าต่างที่ปรากฏบนหน้าจอของโปรแกรม และแสดงซ่อนด็อคพาเนล (Dock Panel)
เฮลป์ (Help)
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้งานโปรแกรม

6.4.3 กล่องเครื่องมือ (Tool Box)

กล่องเครื่องมือ เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 ที่รวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างชิ้นงาน การปรับแต่ง แก้ไขข้อความ และรูปภาพ ซึ่งเครื่องมือที่เรียกใช้อยู่ในรูปแบบเป็นไอคอน ให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว



การปรับเปลี่ยนรูปแบบกล่องเครื่องมือสามารถทำได้ด้วยการคลิกที่สัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยม 2 ตัว ซึ่งการปรับรูปแบบของกล่องเครื่องมือขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ 

ตารางที่ 8.2 การใช้งานไอคอนในกล่องเครื่องมือ
ไอคอน
การใช้งาน


ใช้สำหรับเลือกวัตถุ (Selection Tool)

ใช้สำหรับจัดการเกี่ยวกับการปรับแต่งเส้นต่างๆ โดยการใช้ร่วมกับคีย์บอร์ด ในการเลือนขึ้น ลง เลื่อนซ้าย เลื่อนขวา (Direct Selection Tool)


ใช้งานเกี่ยวกับหน้ามาสเตอร์ ปรับขนาดเค้าโครงหน้ากระดาษ (Page Tool)


ใช้ปรับระยะความห่างระหว่าง Frame และ Object (Gap Tool)


ใช้พิมพ์ข้อความธรรมดา (Type Tool)
ใช้สร้างและแกไขตัวอักษรบนเส้น Path (Type on a Path Tool)


ใช้สร้างเส้นตรง (Line Tool)

ใช้ตัดเส้น Path ในจุดที่ต้องการ (Scissors Tool)


ใช้วาดเส้นอิสระ (Pencil Tool)
ใช้ลบมุมที่เกินบนเส้น Path ทำให้มีความโค้งมากขึ้น (Smooth Tool)
ใช้ลบจุดบนเส้น Path (Erase Tool)



ใช้สร้างกรอบสี่เหลี่ยมเพื่อใส่ภาพ หรือข้อความ (Rectangle Frame Tool)
ใช้สร้างกรอบวงกลมและวงรี เพื่อใส่ภาพหรือข้อความ (Ellipse Frame Tool)
ใช้สร้างกรอบหลายเหลี่ยมเพื่อใส่ภาพหรือข้อความ (Polygon Frame Tool)


ใช้สร้างรูปสามเหลี่ยม (Rectangle Tool)
ใช้สร้างรูปวงกลมหรือวงรี (Ellipse Tool)
ใช้สร้างรูปหลายเหลี่ยม (Polygon Tool)


ใช้สำหรับการปรับเปลี่ยนแก้ไขในส่วนของขนาดให้ใหญ่หรือเล็กตามความต้องการ (Free Transform Tool)
ใช้ในการหมุนวัตถุ (Rotate Tool)
ใช้ในการย่อขยายวัตถุ (Scale Tool)
ใช้ในการปรับเอนเอียงวัตถุ (Shear Tool)


ใช้ในการไล่โทนสีจากสีเข้มไปจนถึงสีอ่อน (Gradient Swatch Tool)


ใช้ไล่น้ำหนักสีแบบโปร่งใส (Gradient Feather Tool)


สำหรับพิมพ์ข้อความในส่วนของคำอธิบายหรือความเห็น (Note Tool)


ใช้สำหรับดูดสี (สีต้นแบบ) จากวัตถุหนึ่งแล้วนำไปใช้อีกวัตถุหนึ่ง (Eyedropper Tool)
ใช้สำหรับวัดระยะห่างระหว่างจุดสองจุด (Measure Tool)


ใช้เคลื่อนย้ายวัตถุในมุมมองของหน้าต่างการทำงาน (Hand Tool)


ใช้เคลื่อนย้ายวัตถุในมุมมองของหน้าต่างการทำงาน (Zoom Tool)


ใช้เติมสีพื้น สีเส้น ให้กับวัตถุและสีตัวอักษร (Default Full and Stroke)


การเปลี่ยนสีให้กับวัตถุ (Apply Color)
การไล่โทนสีให้กับวัตถุ (Apply Gradient)
การยกเลิกเส้นขอบ (Apply None)





เครื่องมือชิ้นงานในมุมมองต่างๆ

6.4.4 พาเนล (Panel)
        พาเนลเป็นที่รวบรวมคุณสมบัติของเครื่องมือต่างๆเพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งานในอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส5.5
1.รูปแบบของพาเนล (Panel) พาเนลสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ 3 รูปแบบคือ
(1) แบบพาเนล
(2) แบบไอคอนและชื่อพาเนล
(3) แบบไอคอน
การเปลี่ยนรูปแบบของพาเนลสามารถทำได้ด้วยการคลิกที่สัญญาลักษณ์บริเวณแถบด้านบนของพาเนล
2.ควบคุมการเปิด/ปิดพาเนล
(1) วิธีที่ 1 การเปิด/ปิดพาเนลสามรถทำได้ด้วยการใช้เมนูคำสั่งวินโดว์ (Window)เพื่อเลือกให้มีการบรริการ/ไม่แสดงพาเนล ตามชื่อของพาเนล
     (ก) เมื่อมีการคลิกเมาส์ที่เลือกให้แสดงปรากฏเครื่องหมาย P หน้าชื่อพาเนล
     (ข) เมื่อต้องการปิดหรือยกเลิกพาเนล ให้มีการคลิกเมาส์ซ้ำที่ชื่อพาเนลเพื่อใช้เครื่องหมาย Pหายไป
(2) วิธีที่ 2 สามารถปิดพาเนลได้ด้วยการคลิกเมาส์ในตำแหน่ง Q บริเวณมุมด้านบนของพาเนล เพื่อทำการปิดพาเนลในกลุ่มทั้งหมด หรือคลิกเมาส์ในตำแหน่ง Q บริเวณหลังชื่อพาเนลเพื่อทำการปิดพาเนลที่เลือกเท่านั้น
(3) การแยกและรวมพาเนล ในการใช้งานพาเนลผู้ใช้สามารถทำการแยกและรวมพาเนลได้โดยการแยกนั้นสามารถทำได้ทั้งแยกออกพาเนลเดียว หรือแยกออกมาเป็นกลุ่ม สามารถทำได้ดังนั้นสามารถทำได้ดังนี้
               (1) การแยกพาเนลออกพาเนลเดียว
                            (ก) คลิกเมาส์ไว้บริเวณแท็บพาเนลที่ต้องการแยก
                            (ข) ลากพาเนลไปวางยังตำแหน่งที่ต้องการ
(2) การแยกพาเนลทั้งกลุ่ม
      (ก) คลิกเมาส์ค้างไว้บริเวณเส้นขอบด้านบนของกลุ่มพาเนลที่ต้องการแยก
(ข) ลากกลุ่มไปวางยังตำแหน่งที่ต้องการ
(3) การรวมพาเนลกลับเข้ากลุ่ม
     (ก) คลิกเมาส์ค้างไว้บริเวณแท็บพาเนลที่ต้องการเข้ากลุ่ม
     (ข) ลากพาเนลไปวางยังตำแหน่งที่ต้องการ
(4) การรวมพาเนลทั้งกลุ่มไว้ในกรอบพาเนล
(ก) คลิกเมาส์ค้างไว้บริเวณเส้นขอบด้านบนของกลุ่มพาเนล หรือบริเวณแถบด้านบน
(ข) ลากกลุ่มพาเนลไปวางยังตำแหน่งในแถบพาเนล กลุ่มพาเนลจะกลับไปอยู่ในกรอบพาเนลดังเดิม
6.4.5 คอนโทรลพาเนล (Control Panel)
คอนโทรลพาเนลเป็นแถบเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดค่าให้กับข้อความ ตัวอักษรและวัตถุโดยเครื่องมือจะเปลี่ยนไปตามการทำงานในขณะนั้นเป็นข้อความหรือวัตถุ ถ้าเป็นการกับข้อความ ผู้ใช้จะสามารถกำหนดสี ขนาดตัวอักษร การจัดตำแหน่งข้อความ ถ้าเป็นการทำงานกับวัตถุจะสามารถกำหนดคุณสบัติต่างๆของวัตถุ เช่นการจัดวาง การปรับแต่งภาพ เป็นต้น คอนโทรลพาเนลเป็นเครื่องมือที่ทำให้การใช้งานสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
                เมื่อทำงานเกี่ยวกับตัวหนังสือหรือข้อความมีการใช้เครื่องมือไทป์ทูล (Type Tool) หรือไทป์ออนอะพาธทูล (Type on a Path Tool) คอนโทรลพาเนลจะปรากฏดังนี้



ตารางที่ 8.3 เครื่องมือในการปรับแต่งตัวอักษรจากคอนโทรลพาเนล

ไอคอน

การใช้งาน


ควบคุมการทำงานของตัวอักษร (Character Formatting Controls)


ควบคุมการทำงานของย่อหน้า (Parageaph Formatting Controls)



รูปแบบตัวอักษร (Font)



ลักษณะตัวอักษร (Type Style)



ขนาดตัวอักษร (Font Size)



ระยะหางของตัวอักษร (Leading)



เปลี่ยนเป็นตัวภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ (All Cap)


เปลี่ยนเป็นตัวภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ขนาดเล็ก (Small Caps)



ตัวอักษรยก (Superscript)



ตัวอักษรห้อย (Subscript)



ขีดเส้นใต้ตัวอักษร (Underline)



ขีดเส้นคร่อมตัวอักษร (Stikethrough)



ปรับช่องไฟของตัวอักษร (Kerning)



ปรับช่องไฟทั้งข้อความ (Trackpng)



เพิ่ม/ลดความสูงตัวอักษร (Vertical Scale)



เพิ่ม/ลดความกว้างตัวอักษร (Horizontal Scale)



ยก/ห้อยตัวอักษร (Baseline)



อักษรตัวเอียง (Skew)



สีตัวอักษร (Fill)



สีเส้นขอบตัวอักษร (Stroke)



การจัดตำแหน่งข้อความ (Alignment)



การจัดย่อหน้า (Indent)

   เมื่อผู้ใช้เปลี่ยนการทำงานจากการทำงานกับข้อความหรือตัวอักษร มาเป็นการทำงานกับวัตถุ เช่น การเรียกใช้เครื่องมือไลน์ทูล (Line Tool ) โพลีกอนทูล (Polygon Tool) ซีเลคชั่น (Selection Tool) เป็นต้น แถบคอลโทรลพาเนลก็เปลี่ยนเป็นการทำงานกับวัตถุ ดังนี้



ตารางที่ 8.4 เครื่องมือในการปรับแต่งวัตถุจากคอลโทรลพาเนล

ไอคอน
การใช้งาน



จุดอ้างอิงตำแหน่ง (Referent Point)



ระบุพิกัดวัตถุในแนวนอน (X) (X Location)



ระบุพิกัดในแนวตั้ง (Y) (Y Location)



ความกว้างของวัตถุ (Width)



ความสูงของวัตถุ (Height)


เปอร์เซ็นต์วัตถุด้านกว้าง เทียบกับวัตถุเดิม (Scale X Percentage)



เปอร์เซ็นต์วัตถุด้านสูง เทียบกับวัตถุเดิม (Scale Y Percentage)



การปรับเอียงวัตถุ (Rotation Angle)



การบิดวัตถุ (Shear X Angle)



การหมุนวัตถุ (Rotate)


การพลิกกลับด้านวัตถุในแนวตั้ง (Flip Vertical)
การพลิกกลับด้านวัตถุในแนวนอน (Flip Horizontal)



การเลือกวัตถุ (Select Object)



สีพื้นวัตถุ (Fill)



สีขอบวัตถุ (Stroke)



ขนาดเส้น ขนาดขอบวัตถุ (Size)



ลักษณะเส้น ลักษณะเส้นขอบวัตถุ (Type Style)



การใส่ลักษณะพิเศษ (Effect)



การตัดข้อความ (Wrap)



ลักษณะมุมของวัตถุ (Corner)





ไม่มีความคิดเห็น: