หน่วยที่7 การสร้างไฟล์และจัดการไฟล์งาน

บทนำ
การเริ่มต้นสร้างงานพิมพ์ในโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 ผู้ใช้โปรแกรมต้องเริ่มสร้างไฟล์งานก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนจะเริ่มต้นทำอย่างอื่นเพื่อเป็นการเลือกรูปแบบทิศทางของงานพิมพ์จะมีรูปแบบเป็นอย่างไร และเมื่อสร้างรูปแบบไฟล์งานแล้ว ผู้ใช้จำเป็นต้องจัดการไฟล์งานให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามกระบวนการ ได้แก่ การเปิดไฟล์งาน การบันทึกไฟล์งาน การปิดไฟล์งาน การเพิ่มและลดจำนวนหน้า ซึ่งเป็นการจัดการขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับไฟล์งานทั้งสิ้น
7.1 การสร้างไฟล์งาน
การสร้างไฟล์งานด้วยโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5สามารถสร้างไฟล์งานได้ 2 รูปแบบ คือ
7.1.1 การสร้างไฟล์งานจากไฟล์ต้นแบบ (Template)
ไฟล์ต้นแบบ คือ ไฟล์สำเร็จรูปที่มีการจัดองค์ประกอบของงานพิมพ์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ๆฟล์ต้นแบบที่มีอยู่ให้เหมาะสมตรงกับงานพิมพ์ที่ต้องการ แล้วนำไฟล์ต้นแบบมาแก้ไข ปรับเปลี่ยนข้อความรูปภาพ เพิ่มเติมในงานพิมพ์ชิ้นนั้นเป็นของผู้ใช้เอง ขั้นตอนการสร้างงานพิมพ์จากไฟล์ต้นแบบ ทำได้ดังนี้
1.การสร้างงานพิมพ์ด้วยไฟล์ต้นแบบจากไอคอนบีอาร์ (Br)
  (1) เข้าสู่การทำงานโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5




 (2) คลิกเลือกที่ไอคอนบีอาร์   เพื่อเข้าสู่หน้าต่างโปรแกรมอะโดบีบริดจ์ (Adobe Bridge)

(3)เมื่อเข้าสู่โปรแกรมอะโดบีบริดจ์ 5.0 จะปรากฏโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ต้นแบบไว้เป็นหมวดหมู่จำนวน 18 โฟลเดอร์ เพื่อให้ผู้เลือกใช้งาน
(4) คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการนำไฟล์ต้นแบบมาใช้งาน
(5)หน้าต่างโปรแกรมจะเข้าสู่ไฟล์ต้นแบบในโฟลเดอร์ที่เลือก
(6)ปรากฏรูปแบบของไฟล์ต้นแบบในโฟลเดอร์ที่เลือก
(7)ดับเบิ้ลคลิกบนไฟล์ต้นแบบที่ต้องการเลือก


(8)จะปรากฏไฟล์ต้นแบบในโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 ผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อความ รูปภาพได้ตามต้องการ

2.การสร้างงานพิมพ์ด้วยต้นแบบจากคำสั่งไฟล์ (File)
(1)เข้าสู่การทำงานโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5
(2)คลิกที่คำสั่งไฟล์ (File) บนแถบเมนู > เลือก เบราว์อินบริดจ์ (Browse in Bridge)
(3)ปรากฏหน้าต่างอะโดบี บริดจ์ พร้อมโฟล์เดอร์ที่เก็บไฟล์ต้นแบบไว้เป็นหมวดหมู่จำนวน 18 โฟล์เดอร์ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกใช้งาน
(4)คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการนำไฟล์ต้นแบบมาใช้งาน
(5)การเลือกไฟล์ต้นแบบเพื่อนำมาใช้ในโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 ด้วยการดับเบิ้ลคลิกบนไฟล์ต้นแบบที่ต้องการเลือก
(6)เมื่อปรากฎไฟล์ต้นแบบในโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5  ผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อความ รูปภาพได้ตามที่ต้องการ
7.1.2 การสร้างไฟล์งานจากด็อคคิวเมนต์เซตอัพ (Document Setup)
     การสร้างไฟล์งานจากด็อคคิวเมนต์เซตอัพ ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าต่างๆ และรูปแบบของชิ้นงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น การกำหนดค่าระยะขอบกระดาษ แนววางกระดาษ เป็นต้น โดยผู้ใช้สามารถเรียกไฟล์งานจากด็อคคิวเมนต์ เซตอัพ ได้ดังนี้
1. เรียกใช้งานจากคำสั่งบนเมนู
(1) เมื่อเข้าสู่โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 แล้วให้คลิกเลือกคำสั่งไฟล์ > นิว > ด็อคคิวเมนต์ (File >New >Document)
(2) จะปรากฏหน้าต่างนิวด็อคคิวเมนต์ (New Document) ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถกำหนดรูปแบบของหน้ากระดาษและสร้างไฟล์งานในครั้งต่อไป
2. เรียกใช้จากคำสั่งลัด (Ctrl+N)
(1) เมื่อเข้าสู่โปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส5.5 ให้กดปุ่มบนคีย์บอร์ด คือ ปุ่มคอนดทรล + เอ็น (Ctrl +N)
(2) จะปรากฏหน้าต่างนิวด็อคคิวเมนต์ (New Document) ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกำหนดรูปแบบของหน้ากระดาษ
7.2 การตั้งค่าหน้าเอกสารจากกหน้าต่างนิวด็อคคิวเมนตืเซตอัพ
7.2.1 ด็อคคิวเมนต์พรีเซต (Document Preset)
ผู้ใช้สามารถเลือกกำหนดค่าในการตั้งค่าหน้ากระดาษได้จากหน้าต่างด็อคคิวเมนต์พรีเซตมีให้เลือก 2 รูปแบบคือ
1.การกำหนดค่าด็อคคิวเมนต์พรีเซตแบบที่กำหนดไว้แล้วในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Default)
เป็นการกำหนดค่าตามที่โปรแกรมกำหนดให้ เช่น จำนวนหน้ากระดาษ ขนาดกระดาษจำนวนคอลัมน์ และระยะขอบกระดาษเป็นต้น
2. การกำหนดค่าแบบกำหนดเอง (Custom) เป็นการกำหนดในการตั้งค่าหน้ากระดาษใหม่ตามความต้องการของผู้ใช้
7.2.2 นัมเบอร์ออฟเพจ (Number of Pages) กำหนดจำนวนหน้าในเอกสาร
7.2.3 สตาร์ทเพจนัมเบอร์ (Star Page No.) หมายเลขหน้าเอกสารที่ต้องการเริ่มต้น
7.2.4 เฟซซิ่งเพจ (Facing Page) กำหนดการแสดงรูปแบบของหน้ากระดาษหน้าคี่หรือหน้าคู่ ดังนี้
7.2.5 มาสเตอร์เท็กซ์เฟรม (Master Text Frame) กำหนดกรอบข้อความในหน้า Master Pang
7.2.6 เพจไซต์ (Pang Size) กำหนดขนาดของกระดาษ
Letter            กระดาษจดหมาย
Legal             กระดาษมาตรฐานที่ใช้ในสหัสรัฐอเมริกา
Tabloid          หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก
Letter-Half      ครึ่งกระดาษจดหมาย
Legal-Half       ครึ่งกระดาษ Legal
A4                กระดาษเอ4  (A4)
A3                กระดาษเอ3 (A3)
A5                กระดาษเอ5 (A5)         
B5                กระดาษบี5 (B5)
Compact Disc  ซองใส่ซีดี
Custom                   กำหนดขนาดของกระดาษเอง
1.วิธ (Width) ความกว้างของกระดาษ
2.ไฮท์ (Height) ความสุงของกระดาษ
3. โอเรียนเทชั่น (Orientation) การวางแนวกระดาษแนวตั้ง (Portrait) และแนวนอน (Landsecpe)
7.2.7 คอลัมน์ (Columns) การแบ่งพื้นที่บนกระดาษออกเป็นส่วนๆ ตามแนวตั้ง
1.นัมเบอร์ (Number) จำนวนบนพื้นที่บนกระดาษที่แบ่งเป็นส่วนๆ
2. กัตเตอร์ (Gutter) ช่องว่างระหว่างการแบ่งแนวหรือช่องว่างระหว่างคอลัมน์
7.2.8 มาร์จินส์ (Margins) กำหนดระยะขอบกระดาษ
1. การกำหนดระยะขอบกระดาษแบบหน้าคู่ ประกอบด้วย
(1) ท็อป (Top) กำหนดระยะขอบด้านบน
(2) อินไซด์ (Inside) กำหนดระยะขอบด้านใน
(3) บอทเทิม (Bottom) กำหนดระยะชขอบด้านล่าง
(4) เอาต์ไซด์ (Outside) กำหนดระยะขอบด้านนอก
2. การกำหนดระยะขอบหน้ากระดาษแบบหน้าเดี่ยว ประกอบด้วย
(1) ท็อป (Top) กำหนดระยะขอบด้านบน
(2) บอทเทิม (Bottom) กำหนดระยะชขอบด้านล่าง
(3) เลฟต์ (Left) กำหนดระยะขอบด้านซ้าย
(4) ไรท์ (Right) กำหนดระยะขอบด้านขวา
7.2.9 ตัวอย่างการสร้างไฟล์งานจากด็อคคิวเมนต์เซตอัพ
 การสร้างไฟล์งานจากด็อคคิวเมนต์เซตอัพ มีขั้นตอนดังนี้
1.คลิกเลือกคำสั่งไฟล์ (File) > (New) > ด็อคคิวเมนต์ (Document)


2. ปรากฏหน้าต่างนิวด็อคคิวเมนต์ (New Document)
3. กำหนดค่าต่างๆ ในหน้าต่างด็อคคิวเมนต์ตามความต้องการ
4. คลิกปุ่มตกลง (Ok)


5.จะได้หน้าเอกสารที่กำหนดค่าพร้อมที่จะสร้างงานพิมพ์
7.3 การบันทึกไฟล์งาน
 เมื่อมีการสร้างไฟล์ ผู้ใช้ย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องบันทึกไฟล์งาน (Save) เพื่อเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไป หรือแจกจ่ายต้นฉบับของไฟล์งานไปยังบุคคลอื่น การบันทึกไฟล์งานจึงมีความสำคัญในการทำงานทุกครั้ง ซึ่งในการบันทึกไฟล์งานผู้ใช้สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
7.3.1 เลือกคำสั่งไฟล์บนแถบเมนู จะมีคำสั่งในการบันทึก 2 คำสั่งได้แก่
1.บันทึก (Save) ใช้ในการบันทึกไฟล์งานในชื่อเดิมที่ผู้ใช้เรียกมาแก้ไข แล้วบันทึกในชื่อเดิมหรือบันทึกไฟล์งานเป็นครั้งแรก
2.บันทึกแฟ้มเป็น (Save as) ใช้ในการบันทึกไฟล์งานเป็นครั้งแรก บันทึกไฟล์งานเดิมเป็นชื่อใหม่หรือบันทึกในรูปแบบของฟอร์แมตใหม่
7.3.2 เมื่อเลือกคำสั่งบันทึกหรือบันทึกแฟ้มเป็นจะปรากฏหน้าต่างดังนี้
1.บันทึกใน (Save in ) กำหนดตำแหน่งไฟล์ที่จะบันทึก
2.ชื่อไฟล์ (File name) พิมพ์ชื่อไฟล์ที่จะบันทึก
3.ประเภทของไฟล์ (Save as type) กำหนดประเภทของไฟล์
4.บันทึก (Save) บันทึกไฟล์งาน


(1) การบันทึกประเภทของไฟล์มีให้เลือกกำหนดดังนี้
อินดีไซน์ซีเอส5.5 ด็อคคิวเมนต์ (Indesing Cs5.5 document) บันทึกเป็นไฟล์ชิ้นงานมีนามสกุลเป็น .Indd
(2) อินดีไซน์ซีเอส5.5  เทรมเพลต (InDesign Cs5.5 template) บันทึกเป็นไฟล์ต้นแบบนามสกุลเป็น .Indt
7.4 การเปิดไฟล์งาน
การเปิดไฟล์งาน (open) เป็นการเปิดไฟล์งานที่ผู้ใช้ได้เคยบันทึกไว้แล้ว เพื่อนำมาใช้งานแก้ไขงานสามารถทำได้ดังนี้
7.4.1 เลือกคำสั่งไฟล์บนแถบเมนู
7.4.2 คลิกเลือกคำสั่งเปิด (Open) หรือคีย์คอนโทรล + โอ (Ctrl+O) บนคีย์บอร์ด
7.4.3จะปรากฏหน้าต่างเปิด (Open file)
1.มองหาใน (Look in) เลือกตำแหน่งที่เก็บไฟล์
2.ชื่อไฟล์ (File Name) เพิ่มชื่อไฟล์ที่ต้องการเปิด
3.ประเภทไฟล์ (Files of Type) ประเภทของไฟล์
4.เปิด (Open) ปุ่มเปิดไฟล์


5.ยกเลิก (Cancel) ยกเลิกการเปิดไฟล์


7.5การปิดไฟล์
เมื่อบันทึกไฟล์งานแล้วต้องการปิดไฟล์งาน (Close) สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
7.5.1 วิธีที่ 1 การสร้างคำสั่งไฟล์
1.คลิกเลือกคำสั่งไฟล์บนแถบเมนู เลือกคำสั่งปิด (Close) หรือคอนโทรล + ดับเบิลยู (Ctrl+W)ไฟล์งานถูกปิด
7.5.2 วิธีที่ 2 การใช้ไอคอนQ
1.คลิกที่ไอคอน Q ด้านมุมบนขวามือของหน้าต่าง
7.2การพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์
การสร้างชิ้นงานด้วยโปรแกรมต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอรื เมื่อสร้างชิ้นงานเสร็จสมบูรณ์แล้วขั้นตอนสุดท้ายคือการพิมพ์ชิ้นงานออกทางเครื่องพิมพ์มีขั้นตอนดังนี้
7.6.1 คลิกเลือกคำสั่งไฟล์ (File) > พริ้นต์ (Print) หรือ กดคีย์ คอนโทรลพี (Ctrl+P)
7.6.2 ปรากฏหน้าต่างพริ้นต์ (Print) ในการกำหนดค่าในการพิมพ์งานสามารถสามารถทำได้ดังนี้
1.พริ้นต์พรีเซต (Print Preset) กำหนดค่าการพิมพ์ สามารถกำหนดตามค่าที่กำหนดไว้แล้วในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Default) และกำหนดเอง (Custom)
2.พริ้นต์เตอร์ (Printer) กำหนดชนิดของเครื่องพิมพ์
3.กำหนดค่าทั่วไป ประกอบด้วย
(1)ก๊อปปี้ (Copies) จำนวนหน้าเอกสาร
(2)รีเวอร์ส (Reverse Order) พิมพ์ตั้งแต่หน้าสุดท้ายจนถึงหน้าแรก
4.กำหนดหน้ากระดาษในการพิมพ์ ประกอบด้วย
(1)กำหนดหน้ากระดาษทั้งหมดที่ต้องการพิมพ์ (All)
(2)กำหนดช่วงหน้ากระกาษที่ต้องการพิมพ์ (Range)
(3)หน้ากระดาษในการพิมพ์ ประกอบด้วย
    () หน้ากระดาษทั้งหมด
    (ข) หน้าคี่
    (ค) หน้าคู่
(4) (Spreads) พิมพ์ข้อมูลในด้านซ้ายและขวาของหน้ากระดาษ
(5)พิมพ์หน้าหลักหรือหน้ามาสเตอร์ (Print Master Pages)
5.ออปชั่น (Option) ประกอบด้วย
(1) พิมพ์เลเยอร์ (Print Layers)
(2) พิมพ์แบบไม่แสดงวัตถุ (Print Non-printing Objects)
(3) พิมพ์หน้ากระดาษเปล่า (Print Blank Pages)
(4) พิมพ์แสดงเส้นไกด์และเส้นกริด
6.ปุ่มพริ้นต์ (Print ) สั่งพริ้นต์ชิ้นงาน
7.ปุ่มแคนเซิล (Cancel) ยกเลิกการสั่งพริ้นต์ชิ้นงาน
7.7การเพิ่มและลดจำนวนหน้า
การทำงานในโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 เมื่อผู้ใช้กำหนดจำนวนหน้าเอกสารจากหน้าต่างคิวเมนต์เซตอัพแล้ว เมื่อมีความต้องการเพิ่มและลดหน้าเอกสารในภายหลังสามารถทำได้ดังนี้
7.7.1 การเพิ่มจำนวนหน้าเอกสารในไฟล์มีขั้นตอนดังนี้
1.เลือกคำสั่งไฟล์ (File)ด็อคคิวเมนต์เซตอัพ (Document Setup)
2.จะปรากฏหน้าต่างด็อคคิวเมนต์เซตอัพ เพื่อเพิ่มจำนวนหน้าตามที่ต้องการในตำแหน่งของนัมเบอร์ออฟเพจ (Number of Pages)
3.คลิกปุ่มตกลง


4.ไฟล์งานจะมีจำนวนหน้าเพิ่มขึ้นตามที่ผู้ใช้กำหนด
7.7.2 การเพิ่มจำนวนหน้าเอกสารโดยระบุตำแหน่ง (Insert Paees)
1.การใช้คำสั่งเลเอาต์
(1) คลิกเลือกคำสั่งเลเอาต์ (Layout) บนแถบเมนู เลือกคำสั่งเพจ >อินเสิร์ท เพจ (Pages >Insert Pages)
(2) ปรากฏหน้าต่างอินเสิร์ทเพจเพื่อเพิ่มจำนวนหน้าเอกสาร คำสั่งในหน้าอินเสิร์ทเพจ ประกอบด้วย
(ก) หน้า (Pages) จำนวนหน้าที่ต้องการเพิ่ม
(ข) แทรก (Insert) ตำแหน่งหน้าที่จะแทรก
(ค) หลังจากหน้า (After Page) แทรกในตำแหน่งหลังหมายเลขหน้าที่เลือก
(ง) ก่อนหน้า (Before Page)แทรกในตำแหน่งก่อนหมายเลขหน้าที่เลือก
(จ) หน้าแรกของเอกสาร (At Star of Document) แทรกในตำแหน่งหน้าของเอกสาร
(ฉ)หน้าสุดท้ายของเอกสาร (At End of Document) แทรกในตำแหน่งหน้าสุดท้ายของเอกสาร
(ช) หน้าหลัก (Master) กำหนดค่ามาสเตอร์เอกสารที่เพิ่มหน้าใหม่
(ซ) หน้าเอกสารเปล่า (None) เพิ่มหน้าเอกสารเปล่า
(ฌ) หน้าหลัก เอ (A-Title) รูปแบบหน้าเอกสารเหมือนรูปแบบหน้าหลัก เอ (Master A)
(ญ) หน้าหลัก บี (B-Content) รูปแบบหน้าเอกสารเหมือนหน้าหลักบี (Master B)
2.การใส่พาเนลเพจ
(1) คลิกขวาบริเวณพาเนลเพจ จะปรากฏเมนูลัดให้เลือกพาเนลเพจ
(2) ปรากฏหน้าต่างอินเสิร์ทเพจเพื่อกำหนดจำนวนหน้า
7.8 การลบจำนวนหน้าเอกสารในไฟล์
การลบจำนวนหน้าเอกสาร (Delete Pages) ที่ไม่ต้องการสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
7.8.1 วิธีที่ 1 การใช้คำสั่งเลเอาต์
1. คลิกที่แถบเมนูเลือกคำสั่งเลเอาต์ > ดีลีตเพจ (Layout >Pages > Delete Pages)
2.ปรากฏหน้าต่างดีลีตเพจ กำหนดเลขหน้าเอกสารที่ต้องการลบ (Delete Pages)
7.8.2 การใช้ไอคอนรูปถังขยะ
คลิกที่ไอคอนถังขยะบริเวณมุมขวาล่างของพาเนลเพจ ผู้ใช้คลิกเมาส์ในตำแหน่งหน้าเอกสารต้องการลบในพาเนลเพจ จากนั้นลากเมาส์ไปยังรูปถังขยะมุมขวาของพาเนลเพจ หน้าเอกสารนั้นก็จะหายไป เป็นการลบเอกสารที่ไม่ต้องการ
7.9 การย้ายหน้าเอกสาร
ผู้ใช้สามารถปรัลเปลี่ยนหน้าเอกสาร ด้วยการย้ายเอกสารตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งหนึ่งที่ต้องการสามารถทำได้2 วิธีดังนี้
7.9.1 1การใช้คำสั่งเลเอาต์
1.แถบเมนูเลือกคำสั่งเลเอาต์ >เพจ > มูฟเพจ (Layout >Pages > Move Pages)
2.ปรากฏหน้าต่างมูฟเพจ เพื่อกำหนดการย้ายหน้าเอกสาร
(1) กำหนดหน้าเอกสารที่ต้องการย้าย (Move Pages)
(2) ระบุตำแหน่งที่จะวางเอกสาร (Destination)
(3) คลิกปุ่มตกลง (Ok)
7.9.2 การใช้พาเนลเพจ
1.ย้ายหน้าเอกสารจากพาเนลเพจ (Panel Pages)
(1) คลิกเลือกเอกสารที่ต้องการ
(2) ลากไปวางหน้าเอกสารที่ต้องการ


(3) เอกสารที่ย้ายไปปรากฏในตำแหน่งที่ต้องการ


7.10 มุมมองเอกสาร
การกำหนดมุมมองในการแสดงหน้าเอกสารผู้ใช้สามารถกำหนดการแสดงมุมมองในการขยายมุมมองให้กว้างขึ้น หรือย่อมุมมองให้เล็กลง เพื่อใช้สามารถองค์ประกอบโดยรวมของเอกสาร สามารถทำได้ 3 วิธีดังนี้
7.10.1 การย่อและขยายมุมมองจากคำสั่งวิว (View) บนแถบคำสั่ง
1.คลิกเลือกคำสั่งวิว บนแถบคำสั่ง
2.คลิกเลือกคำสั่งในการย่อและขยายมุมมอง
7.10.2 การขยายและย่อขนาดมุมมอง โดยใช้เครื่องมือไอคอนรูปแว่น(Zoom Tool)
1.คลิกเลือกไอคอนแว่นขยาย จากกล่องเครื่องมือ
2.ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปแว่นขยายและเครื่ทองหมายบวก เพื่อขยายหน้าจอครั้งละ
3.มุมมองบนเอกสารจะถูกปรับขยายให้กว้างเพิ่มขึ้นอีก 25%
4.การย่อขนาดมุมมองทำได้โดยยกคีย์ออลเทอเนท (Alt) บนแป้นพิมพ์
5.ตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปแว่นขยายและเครื่องหมายลบเพื่อลดขนาดมุมมองครั้งละ 25%
7.10.3 วิธีที่ 3 การปรับมุมมองจากเนวิเกเตอร์พาเนล (Navigator Panel) มีขั้นตอนดังนี้
1.คลิกเลือกแท็บเนวิเกเตอร์พาเนล
2.การย่อ/ขยายมุมมองให้สังเกตจากรอบสีแดงรอบหน้าเอกสาร
3.การย่อ/ขยายขนาดพื้นที่ให้กับเส้นกราอบสีแดงทำได้ด้วยการเลื่อนแถบด้านล่างเมื่อเลื่อนไปด้านทางขวามือย่อกรอบสีแดงให้เล็กลง เลื่อนไปยังด้านซ้ายมือกรอบสีแดงจะมีขนาดใหญ่
4.ผลลัพธ์ที่ได้จากการย่อ/ขยายมุมมองด้วยเนวิกเกเตอร์พาเนล






ไม่มีความคิดเห็น: