หน่วยที่2 การออกแบบและกระบวนการการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

บทนำ
การออกแบบมีความสำคัญในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เพราะการออกแบบคือการวางแผนในการทำงานซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญของกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ให้ประสบผลสำเร็จ การอออกแบบในลักษณะใดก็ตามต้องอาศัยส่วนประกอบงานศิลป์อันได้แก่ เส้น รูปร่าง สี ลักษณะผิว เพื่อนำมาประกอบกันเป็นผลงานที่ดีมีความสวยงาม เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ จึงทำให้เกิดผลงานที่มีรูปแบบที่ดี
สื่อสิ่งพิมพ์ที่จะสำเร็จบรรลุจุดมุ่งหมายได้นั้น นอกจากการออกแบบที่มีประสิทธิภาพแล้วกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการวางแผน การเตรียมการก่อนพิมพ์ การทำต้นฉบับ การเลือกประเภทของการพิมพ์เพื่อให้เหมาะสมกับสื่อสิ่งพิมพ์ และส่งผลให้การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สำเร็จบรรลุจุดมุ่งหมาย

2.1การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
การอออกแบบเป็นการนำองค์การประกอบมูลฐานมาจัด หรือรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบในงานออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพ หรือพื้นที่ว่างๆเพื่อให้การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
2.1.1 วัตถุประสงค์ของการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
1. ใช้เป็นแนวทางในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อรับรู้รูปแบบ รูปร่าง ลักษณะ และส่วนประกอบในการพิมพ์
2. เพื่อสร้างความสวยงามทางศิลป์ของสื่อสิ่งพิมพ์
3. เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นและผู้อ่าน
4. เพื่อเสนอข่าวสารและง่ายต่อการจดจำเนื้อหา
5. เพื่อปิดบังความด้อยต่อคุณภาพสื่อสิ่งพิมพ์
6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
2.1.2 หลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ให้มีความน่าสนใจและสะดุดตาแก่ผู้อ่าน สามารถทำได้ตามหลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดังนี้
1. ออกแบบให้ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและพบเห็น
2. ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ให้เป็นที่สังเกตหรือจดจำได้ง่าย
3. นำข่าวสารไปสู่ผู้อ่าน ด้วยการออกแบบที่มีลักษณะของการเสนอเนื้อหาในรูปแบบที่สวยงาม และสะดวกต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหา
4. ใช้ศิลปะของการออกแบบปิดบังความด้อยในคุณภาพของวัสดุพิมพ์
5. ให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและสะดวกขึ้น
6. เป็นการออกแบบที่มีลักษณะเหมาะสม ตรงกับความมุ่งหมายตามประโยชน์ใช้สอยมีความกลมกลืนตามหลักเกณฑ์ความงามของสังคม และสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้
7. เป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่าย มีจำนวนผลิตผลตามความต้องการของสังคมและมีกระบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน




รูปที่ 2.1 สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะสะดุดตาและน่าสนใจ

8. มีสัดส่วนที่ดี มีความกลมกลืนกันทั้งส่วนรวม เช่น รูปแบบ ลักษณะผิว เส้น สี เป็นต้น มีสัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้งาน
9. มีความเหมาะสมกับวัสดุและวิธีการ มีคุณภาพ มีวิธีการใช้ง่ายสะดวก
10. มีลักษณะของการตกแต่งอย่างพอดี ไม่รกรุงรัง
11. มีโครงสร้างที่เหมาะสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมและความต้องการของสังคม
12. ไม่ควรสิ้นเปลืองเวลามากนัก
2.1.3 หลักในการพิจารณาออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
ก่อนที่ผู้ออกแบบตัดสินใจผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องพิจารณาองค์ประกอบของการพิมพ์เป็นข้อมูลสำคัญต่อการออกแบบองค์ประกอบในการพิมพ์ ดังนี้
1.วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ การกำหนดเป้าหมายของสื่อสิ่งพิมพ์ว่า เป็นสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับบุคคลวัยใด หนังสือสำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ เพศใด สำหรับผู้หญิงหรือผู้ชาย การศึกษาระดับใดลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือทางวิชาการ สารคดี ร้อยแก้ว ร้อยกรอง


รูปที่ 2.2 สื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตจากกระดาษที่ต่างกัน

2.รูปร่างของสื่อสิ่งพิมพ์ ตามปกติมีรูปร่างมาตรฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามลักษณะของกระดาษขนาดมาตรฐาน ดั้งนั้นการกำหนดสื่อสิ่งพิมพ์ให้มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าจึงไม่ทำให้กระดาษเสียเศษ ซึ่งมีทั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งและสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน



รูปที่ 2.3 รูปร่างของหนังสือสำหรับเด็ก

3.ตำแหน่งจุดแห่งความสนใจในสื่อสิ่งพิมพ์ โดยปกติผู้ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มักจะให้ความสำคัญแก่ปกหน้าพิเศษมากกว่าส่วนอีก ทั้งนี้เพราะเป็นจุดดึงดูดสายตาและสามารถสร้างความน่าสนใจแกผู้ดูในกรณีที่มีการแข่งขันกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆสำหรับการจัดหน้าภายในหนังสือนั้นสมัยก่อนมักให้ความสำคัญแก่หน้าขวามือหรือหน้าคี่ ได้แก่ 1,3,5,7 ไปตามลำดับ
รูปที่ 2.4 จุดรวมสายตาอยู่ส่วนบนของร่างกายมากกว่าส่วนล่าง

4.ขนาดของสื่อสิ่งพิมพ์ ขึ้นอยู่กับขนาดของกระดาษเป็นสำคัญจะเห็นได้ว่าหนังสือขนาด 8 หน้ายก (7.5 นิ้ว*10.25 นิ้วที่พิมพ์ในปัจจุบันมีขนาดรูปเล่มที่แท้จริงไม่เท่ากัน ทั้งนี้เนื่องจากขนาดของกระดาษที่ใช้พิมพ์ไม่เท่ากัน ได้แก่ กระดาษขนาด 31 นิ้ว *43 นิ้ว และกระดาษขนาด 24 นิ้ว *35 นิ้ว


รูปที่ 2.5 กระดาษชุดเอ

2.1.4 หลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
สิ่งพิมพ์ที่พบเห็นโดยทั่วไปประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญหลายอย่าง ได้แก่ ตัวอักษรหรือข้อความภาพประกอบเนื้อที่ว่าง และส่วนประกอบอื่น การออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ต้องคำนึงถึงการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันโดยใช้หลักการ ดังนี้

 1. ทิศทางและการเคลื่อนไหว (Direction & Movement) เมื่อผู้รับสารมองดูสื่อสิ่งพิมพ์ การรับรู้เกิดขึ้นเป็นลำดับตามการมองเห็น กล่าวคือ เกิดตามการวาดสายตาจากองค์ประกอบหนึ่งไปยังอีกองค์ประกอบหนึ่ง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการดำเนินการวางแผน กำหนดและชักจูงสายตาผู้รับสารให้เคลื่อนไหวในทิศทางที่ถูกต้อง ตามลำดับขององค์ประกอบที่ต้องการให้รับรู้ก่อนหลัง โดยทั่วไปหากไม่มีการสร้างจุดเด่นขึ้นมา สายตาของผู้รับสารจะมองดูหน้ากระดาษที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ในทิศทางที่เป็นตัวอักษร (Z) ในภาษาอังกฤษ คือ จะเริ่มที่มุมบนด้านขวาตามลำดับการจัดองค์ประกอบที่สอดคล้องกับธรรมชาติการมองนี้ เป็นส่วนช่วยให้เกิดการรับรู้ตามลำดับที่ต้องการ


2. เอกภาพและความกลมกลืน (Unity & Harmony) เอกภาพคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งในการจัดทำเลย์เอาต์หมายถึงการเอาองค์ประกอบที่แตกต่างกันมาวางไว้ในพื้นที่หน้ากระดาษเดียวกันอย่างกลมกลืน ทำหน้าที่สอดคล้องและส่งเสริมกันและกันในการสื่อสารความคิดรวบยอด และบุคลิกภาพของสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ๆ การสร้างเอกภาพนี้สามารถทำได้หลายวิธีเช่น
รูปที่ 2.7 การจัดองค์ประกอบตามหลักการการสร้งความต่อเนื่องกันให้องค์ประกอบ

การเลือกใช้องค์ประกอบอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเลือกใช้แบบตัวอักษรเดียวกัน การเลือกใช้ภาพขาว ดำทั้งหมด เป็นต้น


รูปที่ 2.8 การจัดองค์ประกอบตามหลักการการเลือกช้องค์ประกอบอย่างสม่ำเสมอ

การสร้างความต่อเนื่องกันให้องค์ประกอบ เช่น การจัดให้พาดหัววางทับ ลงบนภาพการใช้ตัวอักษรที่เป็นข้อความ ล้อตามทรวดทรงของภาพ เป็นต้น
การเว้นพื้นที่ว่างรอบองค์ประกอบทั้งหมด ซึ่งจำทำให้พื้นที่ว่างนั้นทำหน้าที่   เหมือนกรอบสีขาวล้อมรอบองค์ประกอบทั้งหมดไว้ภายใน ช่วยให้องค์ประกอบทั้งดูเหมือนว่าอยู่กันอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน


รูปที่ 2.9 การจัดองค์ประกอบตามหลักการการเว้นพื้นที่ว่างรอบองค์ประกอบทั้งหมด

3. ความสมดุล (Balance) หลักการเรื่องความสมดุลนี้เป็นการตอบสนองธรรมชาติของผู้รับสาร ในเรื่องของแรงโน้มถ่วง โดยการจัดวางองค์ประกอบทั้งหมดในพื้นที่หน้ากระดาษ จะต้องไม่ขัดกับความรู้สึกนี้ คือจะต้องไม่ดูเองเอียงหรือหนักไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยไม่มีองค์ประกอบมาถ่วงในอีกด้าน การจัดองค์ประกอบให้เกิดความสมดุลแงได้เป็น 3 ลักษณะคือ
สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance) เป็นการจัดวางองค์โดยให้องค์ประกอบในด้านซ้ายและด้านขวาพื้นที่หน้ากระดาษมีลักษณะเหมือนกันทั้งสองข้าง ซึ่งองค์ประกอบที่เหมือนกันในแต่ละด้านนี้จะถ่วงน้ำหนักกันและกันให้ความรู้สึกสมดุล
สมดุลแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance) เป็นการจักวางองค์ประกอบโดยให้องค์ประกอบในด้านซ้ายและด้านขวาพื้นที่หน้ากระดาษมีลักษณะไม่เหมือนกันทั้งสองข้าง แม้องค์ประกอบจะไม่เหมือนกันในแต่ละด้านแต่ก็จะถ่วงน้ำหนักกันและกันให้เกิดความสมดุล
สมดุลแบบรัศมี (Radial Balance) เป็นการจัดวางองค์ประกอบ โดยให้องค์ประกอบแผ่ไปทุกทิศทางจากจุดศูนย์กลาง
4. สัดส่วน (Proportion) การกำหนดสัดส่วนนี้เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ในเรื่องของขนาดซึ่งมีความสัมพันธ์โดยเฉพาะในหน้ากระดาษของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการให้มีจุดเด่น เช่น หน้าปกหนังสือเป็นต้น เพราะองค์ประกอบที่มีสัดส่วนแตกต่างกันจะดึงดูดสายตาได้ดีกว่าการใช้องค์ประกอบทั้งหมดในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ในการกำหนดสัดส่วนจะต้องกำหนดองค์ประกอบทั้งหมดในพื้นที่หน้ากระดาษไปพร้อม ๆ กันว่าควรจะเพิ่มหรือลดองค์ประกอบใดไม่ใช่ค่อย  ๆ ทำไปทีละองค์ประกอบ
5. ความแตกต่าง (Contrast) เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยการเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการเพิ่มขนาดใหญ่กว่าองค์ประกอบอื่น ๆ โดยรอบ เช่น พาดหัวขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผู้ดูจะเลือกดูองค์ประกอบใหญ่ก่อน
ความแตกต่างโดยขนาด   เป็นวิธีการที่ง่ายที่สด โดยการเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง เด่นขึ้นมาด้วยการเพิ่มขึ้นมาด้วยการเพิ่มขนาดใหญ่กว่าองค์ประกอบอื่น ๆ โดยรอบ  เช่น พาดหัวขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผู้ดูจะเลือกดูองค์ประกอบใหญ่ก่อน
ความแตกต่างโดยรูปร่าง เป็นวิธีที่เน้นองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการใช้รูปร่างที่แตกต่างกันออกไปจากองค์ประกอบอื่นในหน้ากระดาษ เช่น การได้ตัดภาพคนตามรูปร่างของร่างกายแล้วนำไปวางที่หน้ากระดาษที่มีภาพแทรกเล็ก ๆ ที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม เป็นต้น
ความแตกต่างโดยความเข้ม เป็นวิธีการที่เน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการใช้เพิ่มหรือลดความเข้มหรือน้ำหนักขององค์ประกอบนั้นให้เข้มหรืออ่อนกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อยู่รวมกันในหน้ากระดาษ เช่น การใช้ตัวอักษรที่เป็นตัวหนาในย่อหน้าที่ต้องการเน้นเพียงย่อหน้าเดียวในหน้ากระดาษ เป็นต้น
6. จังหวะ ลีลา และการซ้ำ (Rhythm & Repetition) การจัดวางองค์ประกอบหลาย ๆ ชิ้นโดยกำหนดตำแหน่งให้เกิดมีมีช่องว่าเป็นช่วง ๆ ตอน ๆ  อย่างมีการวางแผนล่วงหน้า จะทำให้เกิดลีลาขึ้น และหากว่าองค์ประกอบหลาย ๆ ชิ้นนั้นมีลักษณะซ้ำกันหรือใกล้เคียงกัน ก็จะยิ่งเป็นการเน้นให้เกิดจังหวะลีลา ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นลักษณ์ตรงข้ามกับแบบแรก จังหวะและลีลาลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความรู้สึก ที่ตื่นเต้นดูเคลื่อนไหวและมีพลัง



2.2 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
2.2.1 ความหมายของการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
       “การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ” เป็นศัพท์บัญญัติตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสาร พ.ศ. 2538 มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Desktop Publishing” หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (คอมพิวเตอรฺแบบตั้งโต๊ะ) ในระบบการผลิตสิ่งพิมพ์ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก เพื่อการเรียงพิมพ์ข้อความและภาพกราฟิก กระบวนการของการจัดพิมพ์ด้วย คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะจะประกอบด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมกราฟิกและเครื่องพิมพ์เลเซอร์ เพื่อผลิตสื่งพิมพ์นานาประเภทได้อย่างสวยงาม และประหยัด การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะนี้จะมีโปรแกรมเฉพาะในการทำงาน เช่น โปรแกรม PageMaker และโปรแกรม QuarkXPress เพื่อการจัดข้อความและภาพกราฟิกให้รวมอยู่หน้าเดียวกันได้อย่างสวยงาม โดยการจัดสิ่งต่างๆ บนจอภาพให้เรียบร้อยก่อนที่จะพิมพ์ลงกระดาษด้วยเครื่องมือพิมพ์เลเซอร์ที่มีความคมชัดสูง สามารถใช้โปรแกรมในการจัดทำสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น จุลสาร จดหมายข่าว แผ่นพับ นามบัตร หรือการเตรียมต้นฉบับ นิตยสาร หรือหนังสือเพื่อส่งโรงพิมพ์ให้ทำฟิล์ม หรือเพลทได้ทันที การใช้การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะนี้จะได้สิ่งพิมพ์ที่ผลิตออกมามีคุณภาพดีประหยัดกำลังคนและสามารถลดขั้นตอนการทำงานได้เป็นอย่างมาก ทำให้ประหยัดเวลาได้เป็นอย่างดี สามารถลดต้นทุนในการผลิต สิ่งพิมพ์ได้มากถึง 75% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่พิมพ์ไว้แล้วได้ทุกโอกาส นับว่า เป็นจุดเด่นสำคัญของเทคโนโลยีการพิมพ์ประเภทนี้ และยังให้ผู้ใช้โปรแกรมทั่วไปสามารถผลิตสื่อสิ่งพิมพ์บางประเภทได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องจ้างโรงพิมพ์เหมือนเมื่อก่อน ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว จึงทำให้การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแฟร่หลายในนปัจจุบัน
2.2.2  ปัจจัยทำให้การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเป็นที่นิยม
การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายรวดเร็ว เนื่องมาจากวัตกรรมสำคัญ 4 อย่าง ได้แก่
  1. เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และมีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้นโดยเฉพาะด้านการพิมพ์อักษรและภาพกราฟิกได้ในเวลาเดียวกัน
  2. โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดหน้า เช่น PageMaker, QuarkXPressและ Ventura Publisher ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ
  3. พัฒนาการทางด้านการพิมพ์ตัวอักษร เช่น PostScript ทำให้สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้สวยงามชัดเจน
  4. เครื่องพิมพ์เลเซอร์มีราคาถูกลง ทำให้ผูใช้สามารถซื้อมาใช้งานได้มากขึ้น
2.2.3 องค์ประกอบของการจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
     การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะประกอบด้วยอุปรณ์และวัสดุดังต่อไปนี้คือ
  1. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะสามารถใช้ได้ทั้งเครื่องในระบบ Macintosh และ PC (Personal Computer) แต่เดิมนั้น การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะจะนิยมใช้กับเครื่อง Macintosh มากกว่า PC เนื่องจากเครื่อง Macintosh มีการทำงานที่ง่ายและสะดวกกว่า ประกอบกับมีโปรแกรมการพิมพ์และจัดหน้าให้เลือกใช้ได้มากกว่า แต่ในปัจจุบันการใช้เครื่อง PC
ในการจัดดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะก็ได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งนี้เพราะมีการพัฒนาการทางด้านระบบปฏิบัติการ Windows รวมทั้งเครื่อง PC มีโปรแกรมให้เลือกมาก ๆ พอ กับเครื่อง Macintosh 
  2. โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดหน้า
ในการจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะนั้น ถ้าจะให้สิ่งพิมพ์มีคุณภาพดีแล้ว จะต้องอาศัย
โปรแกรมสำเร็จรูปหลายโปรแกรมประกอบกัน ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกใช้มากมายหลายโปรแกรม แต่ละโปรแกรมจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ได้แก่ โปรแกรมพิมพ์ข้อความและวาดภาพกราฟิกแบบง่าย ๆโปรแกรมวาดภาพ โปรแกรมตกแต่งภาพถ่าย และโปรแกรมสำหรับการจัดหน้า การใช้โปรแกรมสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะต้องดูว่าเป็นโปรแกรมสำหรับเครื่อง PC หรือ Macintosh ด้วย ทั้งนี้เพราะโปรแกรมในชื่อหนึ่งอาจจะผลิตออกมาสำหรับเครื่องทั้งสองระบบ
  3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์
เครื่องพิมพ์เลเซอร์เป็นเครื่องพิมพ์ความเร็วสูงที่ใช้ลำแสงเลเซอร์ทำให้ตัวอักษรหรือภาพรวมตัวกัน เป็นจุดก่อน แล้วจึงใช้การถ่ายโอนทางไฟฟ้าเพื่อพิมพ์ลงบนกระดาษอีกทีหนึ่ง อัตราความเร็วในการพิมพ์วัดได้จากจำนวนหน้าที่พิมพ์ออกมาในหนึ่งนาที (Page per minute: ppm) คุณภาพของการพิมพ์ดูจากความละเอียดของจำนวนจุดในหนึ่งนิ้ว (dot per inch: dpi) ตามปกติแล้ว งานพิมพ์ที่จะมีคุณภาพจะพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่มีความคมชัดในการพิมพ์สูงตั้งแต่ 300-1200 จุดต่อนิ้ว หรือมากกว่านั้น ซึ่งจำนวนความละเอียดของจุดจะดูได้จากเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องที่ระบุไว้เช่น 300และ 600 จุดต่อจุด เป็นต้น 


ไม่มีความคิดเห็น: