หน่วยที่5 ภาพในสื่อสิ่งพิมพ์

บทนำ
ภาพประกอบในสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งที่เป็นภาพวาดและภาพถ่ายต่างก็ใช้เพื่อสื่อความหมายเช่นเดียวกับตัวอักษร แต่มีลักษณะพิเศษคือให้รายละเอียดได้มากกว่าและยังสามารถทำให้เห็นภาพได้เหมือนจริง การได้มองเห็นภาพจะทำให้เกิดความเข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้เวลาตีความหรือทำความเข้าใจ นอกจากนี้ภาพถือว่าเป็นภาษาสากล แม่คนที่ไม่รู้หนังสือก็สามารถดูรู้เรื่องได้ การใช้ภาพประกอบจึงมีความหมายและสำคัญต่อสิ่งพิมพ์ไม่น้อยไปกว่าตัวพิมพ์
5.1 ไฟล์ภาพและคุณสมบัติของไฟล์ภาพ
5.1.1  ความหมายของภาพ
       ภาพ ในความหมายตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณิตยสถาน พ.. 2542 มายถึงความมีความเป็น มักใช้ประกอบส่วนท้ายของคำสมาน เช่นภาพ มรณภาพ เป็นต้น รูปที่ปรากฏเห็น หรือ นึกเห็น เช่น ทิวทัศน์ ภาพในฝัน เป็นต้น สิ่งที่วาดขึ้น เป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย เป็นต้น
        ภาพประกอบสื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง เนื้อหาส่วนที่เป้นภาพที่ปรากฏอยู่ในเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ นอกจากเนื้อหาและข้อความตัวอักษร ภาพเหล่านี้อาจเป็นภาพวาดและภาพถ่ายก็ได้ และยังรูปถึงภาพกราฟิกต่างๆ เช่น จุดเส้นสี แถบกราฟิก และภาพเลขาคณิตอื่นๆ ที่ใช้ในการตกแต่งสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น
5.1.2 ความละเอียดของภาพ (Resolution) 
             งานสื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่แล้วเป็นงานที่ดูในระยะใกล้ และเป็นงานที่ผ่านระบบการพิมพ์คุณภาพสูง ดังนันจึงมีความละเอียดของภาพสุงกว่างานที่นำเสนอบนจอภาพ สื่อสิ่งพิมพ์คุณภาพสูงส่วนใหญ่พิมพ์ด้วยความละเอียด 300 ดีพีไอ (Dot Per Inch = DPI ) แต่สิ่งพิมพ์บางประเภทอาจมีความละเอียดที่แตกต่างออกไป เช่น หนังสือพิมพ์ หรือป้ายโฆษณาแผ่นใหญ่อาจใช้ความละเอียดภาพที่ต่ำเพราะไม่ต้องการคุณมากนัก ส่วนความละเอียดของจอภาพนั้นทั่วไปจะเป็น 72 พีพีไอ (Pixels Per Inch = PPI) ดังนั้นการทำงานเพื่อแสดงผลบนจอภาพควรใช้ค่าความชัดเจน 72 พีพีไอ เป็นต้น
5.1.3 คุณสมบัติของไฟล์รูปภาพสำหรับงานนำเสนอจอภาพ
           การทำงานทุกครั้ง้องคำนึงถึงคุณสมบัติของไฟล์รูปภาพที่ต้องการใช้ในการนำเสนอ เช่น ภาพที่จะปรากฏนั้นจะมีขนาดเท่าไร ต้องใช้ความละเอียด ของภาพเท่าไร ควรใช้ระบบสีแทบใด และเลือกรูปแบบ (Format) ของรูปภาพใด เพื่อให้เหมาะสมในการนำไปใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ที่จะนำไปใช้ด้วย เช่น ภาพที่ใช้ทำเว็บกับภาพที่ใช้ทำโปสเตอร์ก็ต้องมีคุณภาพที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะแบ่งลักษณะงานออกเป็นสองสายตามรูปแบบของสื่อในการนำเสนอ
        ภาพที่ปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโทน
สีอาร์จีบี (RGB) ซึ่งประกอบด้วยสีแดง (RED) สีเขียว (GREEN) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยในหนึ่งพิกเซลประกอบด้วยหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเป็นรูปภาพ ภาพที่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภทคือ
   1.ภาพกราฟิกแบบบิตแมป (Bitmap Graphics) หรือแบบราสเตอร์ (Raster Graphics)
เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของสี่เหลี่ยมเล็กๆหลายสีคล้ายกับการปูกระเบื้อง เรียกว่า พิกเซล ซึ่งในแต่ละพิกเซลถูกรบุด้วยข้อมูลสี ขึ้นอยู่กับภาพนั้นๆ ว่าใช้โหมดสีแบบใดการสร้างภาพ แต่ละพิกเซลจะมีค่าของตำแหน่งและค่าสีของตัวเอง  ด้วยเหตุที่พิกเซลมีขนาดเล็ก จึงเห็นว่าภาพมีความละเอียดสวยงามไม่มีลักษณะของกรอบสี่เหลี่ยมให้เห็น แต่ถ้าขยายขนาดภาพก็จะเห็นกรอบเล็กๆหรือพิกเซลที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ดังนั้นเมื่อทำงานกับภาพแบบมิตแมปหรือราสเตอร์เป็นภาพที่ขึ้นอยู่กับความละเอียด (Resolution) เมื่อทำงานกับภาพแบบมิตแมปหรือแบบราสเตอร์กำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อยเมื่อทำการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ของดีของภาพแบบบิตแมปแบบราสเตอร์ คือ สามารถแก้ไข ปรับแต่งตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม

ตารางที่ 5.1 ชนิดของกราฟิกไฟล์ประเภทบิตแมปหรือราสเตอร์
ชนิดของไฟล์
ลักษณะการใช้งาน
บีเอ็มพี (Bitmap  Senquence = BMP
ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้แสดงผลภาพกราฟิกบนโปรแกรมวินโดวส์ เป็นไฟล์ที่ไม่มีประโยชน์ในด้านการใช้งานมากนัก จะใช้เพื่อเก็บกราฟิกไฟล์ที่เป็นต้นแบบ และใช้ในการแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์
ทิฟ (Tagged image file format = TIF )
เป็นกราฟิกไฟล์ที่สร้างมาเพื่อโปรแกรมประเภท จัดหน้าหนังสือ (Desktop Publlshing) สามารถเก็บข้อมูลรายละเอียดของภาพได้ค่อนข้างมาก ใช้ได้ทั้งในอมค (Mac) และพีชีมีหลายเวอร?ทชั่นแต่ที่นิยมใช้กัน คือ เวอร์ชั่น 4 และ 5
กิฟ (Compuseve Graphic Interchange File = GIF
ถูกสร้างขึ้นมาโดยบริษัทคอมพิวเชิร์ฟ (Compu Surve) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านเครือข่ายของสหรัฐ เหมาะกับการเก็บไฟล์รูปภาพขนาดเล็กและจำนวนสีน้อย มีขนาดไฟล์เล็กเพราะสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในระบบเครือข่าย
เจเปก (Joint  Photographic Expers Group = JPG )
เป็นไฟล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบีบอัดข้อมูลภาพให้มีขนาดกะทัดรัดเพื่อนำไปใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ต นิยมนำมาใช้ในการแสดงผลูปภาพบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเช่นเดียวกับกิฟ
พิค (Picture = PICT)
สามารถเก็บองค์ประกอบของรูปภาพได้ครบ เป็นไฟล์ของแมคโอเอส (OS) และไม่สามารถบันทึกในโหมด ซีเอ็มวายเคเพื่อนำมาใช้งานด้านการพิมพ์
พีเอ็นจี (Portable Network Graphics = PNG
เป็นไฟล์ที่เหมาะสมกับการใช้ในเว็บ สามารถบีบอัดขนาดไฟล์ลงได้โดยที่ยังรักษาคุณภาพของไฟล์ไว้ได้ และที่สำคัญสามารถเลือกระดับสีใช้งานได้ถึง 16 ล้านสี
อีพีเอส (Encapsulated Postscript = EPS
เป็นไฟล์นามสกุลที่ใช้เปิดโปรแกรมในโปรแกรมอิลลัสเตรเตอร์ แต่สามารถบันทึกได้ด้วยโปรแกรม โพโตช็อป สนับสนุนการสร้างภาพ (Path) บันทึกได้ทั้งแทบเวคเตอร์และราสเตอร์

2.  ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ (Vector Graphics)  มีลักษณะการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมด ออกเป็นเส้นตรง รูปทรง ส่วนโค้ง โดยอ้างอิงตามความสัมพั นธ์ทางคณิตศาสตร์หรือคำนวณเป็นตัวสร้างภาพ เป็นการรวมเอารูปทรงพื้นฐาน ได้แก่  วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์ และ อื่นๆต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งต่างๆ กจึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า กราฟิกแบบเวคเตอร์ การสร้างโครงร่างภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ เป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์การกำหนดโครงร่างแล้ะจัดเก็บไฟล์ภาพในลักษณะของตัวแปรทางคณิตศาสตร์เป็นผลห้ำฟล์มีขนาดเล็กอีกทั้งโครงร่างประกอบขึ้นจากเส้นตรงและเส้นโค้งจึงถูกขนาดนามว่าเป็นภาพลายเส้น (Draw Type Graphics) และประการสำคัญของไฟล์ภาพประกอบนี้คือมีขอบภาพที่คมชัดเมื่อถูกพิมพ์ออกที่เครืองพิมพ์ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการออกแบบโลโก้ ศิลปะตัวอักษร ศิลปะการเขียน ข้อดีอีกประการหนึ่งคือคุณภาพของภาพไม่ขึ้นอยู่กับอัตราการขยาย (Resolutioon – independent) หมายถึงภาพถูกขยายให้ใหญ่แค่ไหนก็ได้โดยไม่มีผลกระทบกับคุณภาพของภาพเลย ส่วนข้อเสียของไฟล์ภาพประเภทนี้คือภาพที่ดูจะเป็นภาพวาดเมื่อเทียบกับไฟล์ภาพแบบบิตแมปที่มีลักษณะเป็นภาพถ่าย สำหรับโปรแกรมที่ใช้สร้างหรือแกไขภาพเวคเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม ฟรีแฮนด์ (Free Hand)  คอเรลดรอว์ (CorelDraw) และอิลัสเตรเตอรื (lllustator) ซึ่งพื้นฐานของไฟล์ปรพเภทนี้ จัดเก็บในรูปแบบของโพสต์คริปต์ไฟล์ (Postscript) โดยโพสต์สคริปต์ไฟล์เป็นภาษาที่ใช้ในการสั่งการและควบคุมการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ โดยเป็นมาตรฐานของอะโดบี ดังนั้นผู้ที่ใช้โปรแกรมประเภทนี้เครื่องพิมพ์สนับสนุนโพสต์สคริปต์ไฟล์ จึงจะพิมพ์ภาพได้อย่างสมบูรณ์

ตารางที่ 5.2 ชนิดของไฟล์เวคเตอร์
ชนิดของไฟล์
ลักษณะการใช้งาน
อีพีเอส (Encapsulated Postscript = EPS)
อีพีเอสเป็นไฟล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เป็นไฟล์เวคเตอร์มาตรฐานใช้งานได้กับโปรแกรมหลายโปรแกรมสามารถทำการแยกสีเพื่องานพิมพ์ได้นอกจากนี้ยังใช้ในการเชพ เวคเตอร์ไฟล์จากโปรแกรมหนึ่งเพื่อนำไปโหลดใช้งานในอีกโปรแกรมหนึ่ง ไฟล์ชนิดนี้จะมีโปรแกรมขนาดใหญ่ไฟล์เวคเตอร์ชนิดอื่นๆ
เอไอ (Adobe lllustrator sequence =Al)
เอไอเป็นไฟล์ของอะโดบีอิลลัสเตรเตอร์ จึงควรแก้ไขไฟล์เอไอบนโปรแกรมอิลัสเตรเตอร์เท่านั้น
เอฟเอช (FreeHand =FH)
เอฟเอชเป็นไฟล์โปรแกรมของเวคเตอร์ของค่ายมาโครมิเดีย(Macromeddia) ที่มีชื่อว่า ฟรีแฮนด์ (FreeHand)
ดีดับเบิลยูจี(DrawinG file = DWG)
ดีดับเบิลยูจีเป็นดรอว์อิงไฟล์ (Drawing file) ของโปรแกรมออโตแคด (Auto CAD)
เอฟแอลเอฟ (Flash =FLA)
เป็นไฟล์เวคเตอร์ของโปรแกรมมาโครมิเดียมเฟลซ ใช้ในการสร้างแอนิมิชั่นบนเว็บเพจ
เอสดับเบิลยูเอฟ (Shock wave flash =SWF )
เป็นไฟล์เวคเตอร์ของโปรแกรมมาโครมิเนียมเฟลซใช้แสดงผลเฟลซ (Flash) แอนิมิชั่นบนเว็บ

5.2 รูปภาพในงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์
การทำงานกับรูปภาพในสื่อสิ่งพิมพ์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะสามารถดึงดูดความน่าสนใจจากผู้อ่านและใช้เป็นสื่อขยายความหรือข้อความให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นโดยรูปภาพจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถตรวจสอบเนื้อหาและพบสิ่งที่ต้องการสื่อความหมายของข้อความได้รวดเร็วผู้อ่านจะได้ข้อมูลสรุปที่รวดเร็วกว่าข้อความมีความน่าสนใจพอที่จะอ่านต่อไปหรือไม่ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความคิดที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว
                การขยายความด้วยรูปภาพ
การสร้างหรือเลือกรูปภาพสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ควรทำให้รูปภาพมีคุณสมบัติดังนี้
 1.มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา     การใช้รูปภาพเพื่ออธิบายแนวคิดหลักและดึงดูดความสนใจเนื่องจากผู้อ่านจะดูเนื้อหาแบบผ่านๆโดยจะอ่านเฉพาะหัวเรื่องและอธิบายที่ใช้ประกอบรูปภาพ ผู้อ่านสามารถรับทราบใจความที่สำคัญที่สุดได้ด้วยรูปภาพและคำอธิบายสั้นๆ
2.ภาพมีความสอดคล้องกัน      การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ให้เป็นเอกภาพด้วยการเลือกหรือแสดงรูปภาพ การทำให้รูปมีความสอดคล้องกันทำได้หลายวิธี ได้แก่ ใช้ชุดแถบสีหรือสีเด่นสีเดียวสไตล์กราฟิกทั่วไป มุมกล้องเดียวกันการจัดแสงที่สอดคล้องกันและสามารถใช้แอฟเฟ็กต์ของตัวกรองแบบเดียวกันแต่ละรูปภาพ หรือใช้ตัวบุคคลเดียวกันในการดำเนินเรื่อง
3.เลือกใช้ภาพบุคคล      คนส่วนใหญ่มักดูรูปภาพของบุคคลอื่นๆรูปของคนอืนจะมักดึงความสนใจของผู้อ่าน โดยเฉพาะภาพที่สอดคล้องหรือบอกเรื่องราวได้ การใช้รูปภาพแสดงรูปบุลที่ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทำให้ผู้อ่านเห็นวิธีทำงานและนึกภาพตัวเองขณะใช้งานด้วย
5.3 ภาพที่ใช้ในการประกอบสื่อสิ่งพิมพ์
ภาพประกอบสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งภาพวาดและภาพถ่ายต่างก็ใช้เพื่อสื่อความหมายเช่นเดียวกับตัวอักษรแต่มีลักษณะพิเศษคือให้ความหมายได้มากกว่าและสามารถทำให้เห็นภาพได้เหมือนจิง การได้มองเห็นภาพจะทำให้เกิดความเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องใช้เวลาตีความหรือทำความเข้าใจ นอกจากนี้ภาพยังถือว่าเป็นภาษาสากล แม้คนไม่รู้หนังสือยังสามารถดูรู้เรื่องได้ การใช้ภาพประกอบจึงมีความหมายและสำคัญต่อสื่อสิ่งพิมพ์ไม่น้อยกว่าตัวพิมพในอดีตที่ผ่านมาภาพประกอบสื่อสิ่งพิมพ์จะถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตกแต่งอธิบายและให้เป็นหลักฐานอ้างอิงความสำคัญของภาพประกอบคือ แสดงสิ่งที่ผู้เขียนไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นภาษาเขียนได้ นอกจากนี้ภาพประกอบสื่อสิ่งพิมพ์ได้กลายมาเป้นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป้นบรรจุภัณฑ์ ปกเทป แผ่นพับ แผ่นปลิว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือทั่วไป ล้วนต้องใช้ภาพประกอบทั้งสิ้น
5.3.1 ความสำคัญของภาพประกอบสื่อสิ่งพิมพ์
ภาพประกอบมีความสำคัญต่อสื่อสิ่งพิมพ์มากโดยเฉพาะในการสื่อความหมายของการถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิชาการเพราะภาพประกอบสามารถให้รายละเอียด และความเหมือนจิงเหนือคำบรรยายให้ความสวยงามและความประทับใจหรือใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง ความสำคัญของภาพประกอบสื่อสิ่งพิมพ์มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
                  1.ใช้สร้างความเข้าใจ     ในการอธิบายถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดบางครั้งตัวอักษรก็มีข้อจำกัดที่จะบ่งบอกถึงสิ่งที่อธิบายนั้นว่าเป็นอย่างไร ในบางกรณีแม้ผู้บรรยายจะมีความสามารถในการใช้ถ้อยคำแต่ไม่อาจทำให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย เช่น  การอธิบายความแตกต่างระหว่างม้ากับลาให้แก่คนที่ไม่เคยเห็นสัตว์ทั้งสองชนิดนี้ คงเป็นเรื่องที่ลำบากแต่ถ้าแสดงด้วยรูปภาพจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
                 2.ใช้เสริมความเข้าใจ      การนำภาพประกอบมาใช้ในกรณีที่ข้อความสามารถสร้างความเข้าใจได้ระดับหนึ่งแล้วแต่ไม่ชัดเจนจึงจำเป็นต้องใช้ภาพประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การอธิบายพุทธลักษณะพระพุทธเจ้าในสมัยต่างๆ ถ้ามีภาพประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจในรายละเอียดเพิ่มเติมก็จะทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
3.ใช้เป็นหลักฐานเพื่อบ่งบอกบุคคล        ในการบ่งบอกถึงบุคคลที่ไม่อาจใช้ข้อความอธิบายให้เห้นภาพหรือเข้าใจได้ว่าบุคคลนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร แต่ถ้าพิมพ์ภาพแล้วบอกชื่อ ผู้ที่เห็นและรู้จักก็จะสามารถจดจำได้ทันที
4.ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงหรือแสดงหึตุการณ์    ภาพประกอบสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานประกอบคำบรรยายในกรณีนั้นสำคัญขนาดต้องบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์นั้นต้องการความรวดเร็วเพื่อนำเสนอเป็นภาพข่าวสื่อสารมวลชนต่างๆ เป็นบอกเล่าเหตุการณ์ให้เข้าใจโดยง่าย
5.ใช้ตกแต่งหน้าหนังสือ     ภาพประกอบช่วยให้สวยงามน่าอ่านมากยิ่งขึ้นเทคโนโลยีการถ่าย การตกแต่งและการพิมพ์ในปัจจุบันเอื้ออำนวยให้กับงานภาพประกอบสะดวกยิ่งขึ้น การถ่ายภาพทำได้ง่ายขึ้น ลดขั้นตอนการตกแต่งลง ใช้เวลาน้อยง การจำลองภาพอย่าง เช่น การถ่ายเอกสารหรือสแกนภาพ ทำให้ได้คุณภาพดีและรวดเร็วอีกครั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ยังช่วยในการตกแต่ง และดัดแปลงภาพได้หลายรูปแบบ
5.3.2 ประเภทของภาพประกอบสื่อสิ่งพิมพ์
การใช้ภาพผลิตสื่อสิ่งพิมพ์นั้นอาจกล่าวได้ว่าสามารถใช้กับภาพได้ทุกประเภท เพราะเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ทำให้สามารถถ่ายทอดภาพประเภทใดๆก็ได้ลงบนสื่อสิ่งพิมพ์ การแบ่งประเภทของภาพประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ตามสื่อที่ใช้ในการผลิตสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.ภาพถ่าย    เป็นภาพที่เกิดจากกรรมวิธีในการถ่ายภาพ ใช้ประโยชน์ได้ดีในงานพิมพ์ เพราะภาพถ่ายมีลักษณะเฉพาะตัวหลายอย่าง ทั้งความเหมือนจริงและความละเอียด สามารถสร้างสรรค์ได้ตามความรู้สึก การถ่ายภาพเพื่อนำมาประกอบสื่อสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันนิยมใช้กล้องดิจิตอล ผลลัพธ์ที่ได้ส่วนใหญ่จึงเป็นภาพสี (Color Print) แต่ต้องการภาพขาวดำมักใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแปลงจากภาพสีให้เป็นภาพขาวดำ
2.ภาพวาดลายเส้น    เป็นภาพที่ใช้ประกอบสื่อสิ่งพิมพ์มาตั้งแต่ยุคแรกและยังคงได้รับความนิยมอยู่จนถึงปัจจุบัน มีการใช้เทคนิคการวาดภาพผสมผสานกันหลายอย่าง เช่นการวาดลายเส้นแบบภาพการ์ตูนโดยการใช้ดินสอ พู่กันปากกาหมึกดำ รวมทั้งการผสมสกรีนหรือการใช้ลวดลายต่างๆร่วมกับภาพลายเส้นเป็นต้น
3.ภาพวาดน้ำหนักสีต่อเนื่องและภาพวาดระบายสี    ภาพสองชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันคำว่า ภาพวาดน้ำหนักสีต่อเนื่อง โดยใช้ภาพวาดสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่ลดหลั่นกัน สำหรับภาพระบายสีจะประกอบด้วยต่างๆ มากมายหลายสี โดยการเขียนหรือระบายด้วยกรรมวิธีหรือเทคนิคต่างกัน ภาพวาดอาจเป็นภาพวาดในมุมมองและรายละเอียดเหมือนกับภาพถ่ายได้และยังสามารถวาดในมุมที่ภาพวาดไม่สามารถวาดได้อีกด้วย ภาพวาดจึงเป็นภาพชนิดหนึ่งที่อาจใช้เป็นถาพประกอบได้อย่างดี
4.ภาพพิมพ์    หมายถึงภาพที่ผ่านการพิมพ์มาแล้วมีทั้งชนิดที่พิมพ์เป็นภาพลายเส้นและพิมพ์เป็นภาพเม็ดสกรีน ภาพทั้งสองชนิดนี้สามารถนำมาพิมพ์ซ้ำได้ ถ้าเป็นภาพลายเส้นจะเป็นภาพได้คุณภาพใกล้เคียงของเดิม แต่ภาพที่เป็นเม็ดสกรีนลายละเอียดอาจหายไป
5.ภาพดิจิตอล หมายถึง ภาพที่ผ่านกระบวนการจัดการคอมพิวเตอร์ด้วยพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทำให้ภาพทุกชนิดที่จะเข้าสู่ระบบการพิมพ์ต้องผ่านกระบวนการแปลงรูปภาพในเป็นภาพดิจิตอลก่อน เช่น การสแกนภาพ การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลและการสร้างภาพขึ้นใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
5.3.3การสร้างจุดเด่นให้ภาพประกอบ
การสร้างสรรค์ภาพประกอบให้มีสีสันฉูดฉาด สะดุดตา เป็นวิธีการที่ดีสำหรับการสร้างความน่าสนใจให้กับสื่อสิ่งพิมพ์ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือการสื่อความหมายเรื่องราวไปยังผู้อ่าน
5.3.4ภาพประกอบของสิ่งพิมพ์ที่น่าสนใจแบบคงทนถาวร
การออกแบบภาพออกแบบให้ผสมผสานเข้าไปในสื่อสิ่งพิมพ์แล้วทำให้งานพิมพ์มีจุดเด่นที่น่าสนใจแบบคงทนถาวรมีวิธีการดังนี้
1.ใช้ภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง    เป็นที่รู้จักนำมาเคารพนับถือ มาสร้างจุดดึงดูดให้กับสื่อสิ่งพิมพ์พร้อมทั้งเสนอรายละเอียดความคิดให้อยู่ในลักษณะที่โดดเด่น เช่นอัศเจรีย์ตัวใหญ่ๆ เครื่องหมายคำพูดที่ใหญ่เกินจิง หรือกรอบที่มีรูปร่างแปลกตาเป็นต้น
2.ใช้ภาพที่น่าสะพรึงกลัวและเกินจริง    การใช้ภาพโครงกระดูกซึ่งเป็นลักษณะของความตาย หรือภาพกล้ามเนื้อจนเห็นชัดทุกชิ้นส่วนให้เกิดความรู้สึกน่ากลัว
3.ลดรายละเอียดของภาพ  ตัดรายละเอียดส่วนเกินอื่นๆออก เหลือไว้เท่าที่จำเป็นเพื่อเน้นให้ผู้อ่านทุ่มเทความสนใจไปยังจุดหมายที่ต้องการ
4.ให้ภาพที่มีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง  สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีการสอดสี การสร้างภาพประกอบให้มีสีสันผิดเพี้ยนหรือแปลกตาออกไปก็เป็นเรื่องไม่ยาก คอมพิวเตอร์สามารถช่วยตกแต่งให้มีสีผิดเพี้ยนไปจากะรรมชาติได้ เช่น คนตัวเขียวๆ หรือม้าลายสีรุ่ง เป็นต้น
5.ให้ภาพมีความแตกต่างกันอย่างคาดไม่ถึง  ภาพล้อเลียนแปลกแหวกแนว ไร้เหตุผลเหนือจริง มหัศจรรย์ ประหลาดใจ น่าตกใจซึ่งเป็นภาพที่คาดไม่ถึง ภาพต่างๆ ภาพต่างๆเหล่านี้มักจะนำมาซึ่งความแปลก ก่อให้เกิดความสงสัยชวนให้น่าติดตามและหน้าสนใจทั้งสิ้น
6.สร้างความแตกต่างให้ชัดเจน  การสร้างความแตกต่างให้ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์จะต้องแสดงให้ชัดเจน เช่น ขนาดที่แตกต่างกันขององค์ประกอบในภาพ เป็นต้น
7.สร้างภาพให้นำสายตา  พื้นที่สีขาวรอบๆ รูปภาพคือ พื้นที่ของคนอ่าน ส่วนเนื้อที่ภายในรูปภาพเป็นพื้นที่ของบุคคลหรือวัตถุที่อยู่ในขณะนั้น จะต้องกำหนดขอบเขตสายตาของผู้อ่าน โดยทำการตกแต่งส่วนสำคัญของภาพให้ดูเหมือนยื่นส่วนหนึ่งส่วนใดออกมานอกรูปภาพ เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ด้านนอกและด้านในให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
8.สร้างภาพมุมกว้างเพื่อขยายเขตการรับรู้   นำเสนอภาพมุมกว้างเป็นลักษณะของภาพแบบพาโนรามา เพื่อเป็นการขยายการรับรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น การนำเสนอภาพพาโนราควรจะขยายให้อยู่บนหน้าสื่อสิ่งพิมพ์ทั้ง 2 หน้า ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรขยายให้เป็นภาพเต็มหน้าแล้วตัดตกทั้ง 2 ด้าน หรือจะไม่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกก็สามารถขยายหน้าเพิ่มให้ต่อเนื่องออกไปเป็น 3 หน้าในลักษณะของบานหน้าต่าง เปิก-ปิดได้
5.3.5 การตกแต่งภาพเพื่อใช้กับสื่อสิ่งพิมพ์
โดยธรรมชาติแล้วตัวอักษรเป็นวรรณกรรม มีหน้าที่สร้างจินตนาการให้กับผู้อ่านส่วนภาพประกอบเป็นตัวสร้างภาพ เพื่อเสริมให้จิตนาการนั้นปรากฏชัดเจน การตกแต่งภาพประกอบให้แปลกออกไปจากปกติธรรมดา จะทำให้สิ่งพิมพ์นั้นน่าดูยิ่งขึ้นนักออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และผู้ที่ตกแต่งภาพประกอบสื่อสิ่งพิมพ์สามารถทำการตกแต่งภาพดังต่อไปนี้
1.การพลิกภาพ การพลิกภาพจากซ้ายไปขวาในลักษณะภาพมายาของกระจกเงาทำให้เกิดความรู้สึกต่อเนื่องแบบตรงกันข้ามหรืออาจกลับหัวลงล่างแสดงออกคล้ายกับภาพที่สะท้อนบนผิวน้ำ
2.การทำภาพให้แตกกระจาย  การทำภาพให้ดูเหมือนแผ่นกระจกที่ถูกทุบทำลาย จนแตกเป็นริ้วรอยแหลมคม ทำให้ภาพดูดุร้ายและน่าแกรงขามมากยิ่งขึ้น
3.การทำภาพเนกาทิฟ  ภาพโดยทั่วไปเป็นภาพโพสิทิฟ โดยจะตัดสินความงานด้วยแสงสี และรายละเอียดในความเหมือนจริงของภาพนั้นๆ ในการกลับกันถ้าเปลี่ยนการนำเสนอภาพเป็นรูปแบบ ภาพเนกาทิฟ ความรู้สึกของการพบเห็นก็จะเปลี่ยนไปในทันที สิ่งที่ได้รับคือความรู้สึกแปลก ลึกลับ น่าสะพรึงกลัว อึดอัด ไม่สบายใจที่ได้พบเห็น แต่ก็เป็นอีกทางหนึ่งในการนำเสนอให้น่าสนใจด้วยความแตกต่างจากปกติ
4.การแทรกภาพ   การแทรกภาพในอีกภาพหนึ่งลงไปในภาพหลัก และถ้าเนื้อหาของภาพทั้งสองนั้นทำงานร่วมกันได้อย่างผสมผสานก็จะได้ภาพที่มีความหมายสมบูรณ์ขึ้น การใช้ภาพสีปะทับไปบนภาพขาวดำ ก็จะทำให้ภาพสีภาพนั้นเป็นจุดรวมความน่าสนใจ
5.การจำลองรูปภาพ  เป็นการตกแต่งภาพให้ดูเป็นภาพอีกทีหนึ่ง ซึ่งทำได้หลายวิธี โดยทำขอบให้เป็นรอยตัดชิกแชกแบบรูปถ่ายสมัยโบราณแล้วรองเงาใต้พื้นภาพเพื่อให้ภาพลอยเด่นขึ้นมา หรือฉีกขอบภาพที่ชำรุด พับมุม หรือทำมุมพิเศษ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงการทำภาพให้เป็นรูปภาพได้อีกครั้งหนึ่ง
6.การซ้อนภาพ  การซ้อนภาพให้มุมทับเลื่อมกัน แสดงถึงความสัมพันธ์ภายในของภาพนั้นๆ โดยทำให้ภาพที่อยู่ด้านบนให้เป็นภาพสีเข้ม ภาพถัดไปสีค่อยๆ หรืออาจเป็นภาพลายเส้นก็ได้
7.การทำขอบภาพ ขอบภาพแบบตรงๆ สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มาแต่อดีตมีใช้กันอยู่มากมายคุ้นตาจนทำให้คิดว่าเป็นหนทางเดียวที่ตกแต่งขอบภาพประกอบ เพื่อนำมาใช้เพื่อสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ความจริงการตกแต่งขอบภาพยังมีวิธีอีกหลายวิธีที่แตกต่างออกไป เช่น ขอบยอกนุ่มๆแล้วค่อยๆจางหายไปให้ความรู้สึกเกี่ยวกับจินตนาการดั่งความฝัน เป็นความรู้สึกแบบชั่งคราวไม่แน่นอน เป็นต้น ขอบภาพที่มีรูปทรงอิสระส่งผลให้เกิดความรู้สึกหลากหลายบนหน้ากระดาและบริเวณว่าง เนื้อหาส่วนใหญ่อยู่ในกรอบภาพ ส่วนที่ยื่นออกมามีลักษณะเป็นภาพเป็นส่วนน้อย เพื่อเป็นการเน้นและนำสายตา
                 

ไม่มีความคิดเห็น: