หน่วยที่11 การใส่สีวัตถุ

บทนำ
การใส่สีให้กับวัตถุเป็นการตกแต่งให้มีสีสันสวยงาม ในโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5 มีโหมดสีให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้งานทั้งหมด 3 โหมดสี โดยยึดหลักการมองเห็นสีในโหมดสีต่างๆ
11.1 โหมดสีในโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส 5.5
การใช้สีในโปรแกรมอะโดบีอินดีไซน์ซีเอส5.5มีจำนวน 3 โหมดสี ได้แก่ โหมดสีอาร์จีบี (RGB) โหมดซีเอ็มวายเค (CMYK) และโหมดสีแอลเอบี (LAB)
11.1.1 โหมดสีอาร์จีบี (RGB)
โหมดสีอาร์จีบีมีการกำหนดค่าความเข้มของสี 3 สี คือสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินที่มาผสมกันภาพที่อยู่ในโหมดอาร์จีบีจะเป็นการซ้อนสีหลัก 3 ชั้นสามารถมองทะลุผ่าน 3 สีจนกลายเป็นภาพ
11.1.1 โหมดสีซีเอ็มวายเค  (CMYK)
โหมดสีซีเอ็มวายเคมีการกำหนดค่าสีจากเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของสีมาผสมกัน 4 สีคือ สีฟ้า สีบานเย็น สีเหลืองและสีดำหรือสีขาว
11.1.3 โหมดสีเอลเอบี (LAB)
การใช้โหมดเอลเอบี (LAB) มีค่า 3 ค่าที่ผู้ใช้ต้องกำหนดคือค่าความสว่าง (Luminance = L) ส่วนประกอบที่แสดงการไล่สีจากสีเขียวไปถึงสีแดงและส่วนประกอบที่แสดงการไล่สีจากสีน้ำเงินไปถึงสีเขียว
11.1.4 การเปลี่ยนโหมดสีของวัตถุ
การเปลี่ยนการทำงานของโหมดสี ผู้ใช้สามารถทำการเปลี่ยนได้ด้วยการใช้พาเนลคัดเลอร์ดังขั้นตอนต่อไปนี้



1.คลิกเลือกพาเนลคัดเลอร์
2. คลิกเลือกสัญลักษณ์
3. เลือกโหมดสีที่ต้องการ ได้แก่ แอลเอบี ซีเอ็มวายเค และอาร์จีบี
11.2 การใส่สีวัตถุ
เมื่อผู้ใช้สร้างวัตถุได้ตามต้องการแล้วการเพิ่มสีสันให้วัตถุมีความสวยงามสามารถใส่สีพื้น (Fill) และสีเส้น (Stroke) ด้วยคัดเลอร์พิคเกอร์ (Color Picker) จากกล่องเครื่องมือพาเนลคัดเลอร์ (Panel Color) และพาเนลสวอทเซส
 (Panel Swatches)
11.2.1 การใส่สีวัตถุจากกล่องเครื่องมือ
การใส่สีของวัตถุจากกล่องเครื่องมือ ประกอบด้วย
การใส่สีพื้นและสีเส้น
การใส่สีให้กับวัตถุ
การใส่สีให้กับตัวอักษร
การกำหนดเพียงสีเดียวลงในพื้นที่หรือเส้นขอบของวัตถุ
การใส่โทรนสีให้กับพื้นหรือเส้นขอบวัตถุ
ไม่มีการใส่สีให้กับพื้นที่หรือเส้นของวัตถุ
11.2.2 การใส่สีวัตถุจากคัดเลอร์พิคเกอร์
1.คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการใส่สี
2.คลิกเลือกสีพื้นและสีเส้นจากกล่องเครื่องมือ
3.ปรากฏหน้าคัดเลอร์พิคเกอร์
4.คลิกเพื่อกำหนดค่าสีหรือเลื่อนสไลด์เพื่อเลือกโทนสี
5.เลือกกำหนดค่าสำหรับสิ่งพิมพ์หรือกำหนดค่าสีสำหรับเว็บไซต์
6.แสดงโทนสีที่เลือก
7.คลิกตกลงเพื่อเลือกใช้สีที่กำหนดค่า



8.จะได้วัตถุสีตามที่กำหนด
11.2.3 การใส่สีวัตถุจากพาเนลคัดเลอร์
1.คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการใส่สี
2. คลิกเลือกพาเนลคัดเลอร์
3.กำหนดสีพื้นและสีเส้นจากกล่องเครื่องมือ



4.เลื่อนแถบสไลด์เพื่อผสมสี
5.คลิกเลือกสีที่ต้องการ
6.วัตถุจะมีสีที่กำหนดค่าไว้
11.2.4 การใส่สีวัตถุจากพาเนลสวอทเชส
1.การเพิ่มสีเข้าไปในพาเนลสวอทเชส
(1) คลิกเลือกสีจากพาเนลคัดเลอร์
(2) คลิกเลือกที่สวอทเชส



(3) คลิกเมาส์ที่ เพื่อเพิ่มสีในพาเนล
(4) สีใหม่จะเพิ่มในพาเนลสวอทเชส
2.การลบสีออกจากพาเนลสวอทเชส
(1) คลิกเลือกพ่เนลสวอทเชสเลือกสีที่ต้องการลบ
(2) ลากสีที่ต้องลบมาที่ถังขยะ
(3) สีที่ต้องการลบจะหายไปจาก Swatches
3.การใส่สีให้กับวัตถุด้วยพาเนลสวอทเชส
(1) คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการใส่สี
(2) คลิกเลือกที่พาเนลสวอทเชส
(3) คลิกเลือกสีที่ต้องการ
(4) วัตถุจะมีสีตามที่กำหนด
11.3 การใส่สีด้วยเครื่องมืออายดรอปดปอร์ทูล (Eyedropper Tool)
เครื่องมือที่ใช้ในการระบายสีของวัตถุ โดยใช้วิธีการดึงสีของวัตถุอื่นมาใส่ในวัตถุที่เลือกด้วยเครื่องมืออายดรอปเปอร์ทูล สามารถทำได้ดังนี้
11.3.1 คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการระบายสี
11.3.2 คลิกเลือกเครื่องมืออายดรอปเปอร์ทูล
11.3.3 เปิดไฟล์ภาพเพื่อเป็นสีต้นแบบ และคลิกเลือกสีจากภาพต้นแบบ
11.3.4 คลิกวัตถุเพื่อระบายสี วัตถุจะมีสีเดียวกับสีต้นฉบับ
11.4 การระบายสีแบบไล่โทน
การระบายสีแบบไล่โทนสีจากสีหนึ่งไปสู่สีหนึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดสีแต่ละช่วงและมุมของการไล่โทนสีโดยใช้งานคู่ระหว่างพาเนลแกรเดียนท์  (Gradient Panel) และเครื่องมือแกรเดียนท์สวอทซ์ทูล (Gradient Swatch Tool)
การไล่โทนสีให้กับวัตถุ
การเรียกใช้พาเนลแกรเดียนท์ได้โดยคำสั่งวินโดวส์แกรเดียนท์ (Window Gradient) พาเนลแกรเดียนท์มีส่วนประกอบดังนี้
1. ส่วนประกอบของพาเนลแกรเดียนท์



2. การเพิ่มจุดสี
การเพิ่มจุดสีในพาเนลแกรเดียนท์สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
(1) คลิกเพิ่มจุดสี
คลิกเพิ่มจุดสีบนแถบจุดสี
(2) คลิกเลือกสีจากสวอทเชส
(ก) คลิกเลือกพาเนลสวอทเชสเลือกสีที่ต้องการในพาเนลสวอทเชส
(ข) ลากสีที่เลือกวางบริเวณแถบเพิ่มจุดสีในพาเนลแกรเดียนท์
(ค)จุดสีใหม่จะเพิ่มเข้ามา
3. การลบจุดสี
เมื่อต้องการลบจุดสีบางจุดสามารถทำได้ดังนี้
(1) คลิกจุดสีบนแถบเพิ่มจุด
(2) ลากจุดสีออกมาจุดสีจะถูกลบหายไป
4.การไล่โทนสีกับวัตถุด้วยพาเนลแกรเดียนท์ (Panel Gradient)
การกำหนดไล่โทนสีให้กับวัตถุมีขั้นตอนการทำดังนี้
(1) คลิกเลือกวัตถุ
(2) กำหนดสีพื้นแบบไล่สีจากกล่องเครื่องมือ
(3) จะปรากฏพาเนลแกรเดียนท์ คลิกเลือกลักษณะการไล่สี
(4) คลิกจุดสีเพื่อกำหนดสี คลิกเลือกสีที่ต้องการ
(5) จะปรากฏการไล่โทนสีบนวัตถุที่เลือก
5.การไล่โทนสีให้กับวัตถุด้วยเครื่องมือแกรเดียนท์สวอทซ์ทูล (Gradient Swatch Tool) การไล่โทนสีด้วยเครื่องมือแกรเดียนท์สวอทซ์ทูลเป็นการกำหนดทิศทางการกระจายตัวของการไล่โทนสี มัขั้นตอนดังนี้
(1) คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการไล่โทนสี
(2) คลิกเลือกเครื่องมือแกรเดียนท์สวอทซ์ทูล
(3) คลิกลากเมาส์บนวัตถุเพื่อเปลี่ยนจุดศูนย์กลางและการกระจายตัวของสีใหม่
(4) สีของวัตถุมีลักษณะแบบไล่โทนสีตามที่กำหนด
11.5 การสร้างภาพโปร่งแสง (Opacity)
การสร้างภาพโปร่งแสงเป็นการทำให้ภาพหรือวัตถุที่ซ้อนกันอยู่มีความโปร่งแสงใสเหมือนกระจกสามารถมองผ่านเห็นทะลุถึงภาพหรือวัตถุที่อยู่ด้านหลัง สามารถทำได้ดังนี้
11.5.1 การสร้างภาพโปร่งแสงด้วยพาเนลเอฟเฟ็กต์
1.คลิกเลือกวัตถุ
2.คลิกเลือกพาเนลเอฟเฟ็กต์ (Panel Effects)
3. กำหนดหาความโปร่งแสงของวัตถุ



4.ผลลัพธ์จะได้ภาพโปร่งแสงที่สามารถมองเห็นภาพด้านหลัง

ไม่มีความคิดเห็น: